22 พฤศจิกายน 2564

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์

.....สกู๊ปข่าว.พรรคประชาไทย...
ดร.บุญยงค์ จันทร์แสง หัวหน้าพรรคประชาไทย
ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาไทย ลำดับที่ 1 และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 88
 (ลงพื้นที่รับสมัครสมาชิกพรรคและผู้มีความประสงค์จะลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
             ..................
 วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 เปิดตัวผู้สมัคร ส.ส.จังหวัดขอนแก่น
 วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 เปิดตัวผู้สมัคร ส.ส.จังหวัดอุดรธานี
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 เปิดตัวผู้สมัคร ส.ส.จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดอุบลราชธานี(ที่จังหวัดมหาสารคาม)
               ........................
    >ประชุมสัมมนา อบรมผู้สมัคร ส.ส.เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่แทนปวงชนชาวไทยในรัฐสภาให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
   >รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ประเทศไทยประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับ ฉบับปัจจุบันประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 มี 279 มาตรา แบ่งเป็น 16 หมวด


















                   ....................
*คุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส.มาตรา 97(3)เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคการเมืองเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้งเว้นแต่กรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุยุบสภาระยะเวลา 90 วันดังกล่าวให้ลดลงเหลือ 30 วัน
    > ส.ส.เป็นตัวแทนปวงชนชาวไทย ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ *มาตรา 114 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมายหรือความครอบงำใดๆและต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์
    >การยกร่างกฎหมาย การเสนอกฎหมายต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ *มาตรา 133 ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อนและจะเสนอได้ก็แต่โดย
 * มาตรา 133(1) คณะรัฐมนตรี
* มาตรา133(2)สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน
(ร่วมลงชื่อ)
....ด้วยเหตุผลดังกล่าว พรรคประชาไทย จึงได้ตั้งเป้าหมาย
ส.ส 30 คนขึ้นไปเพื่อนำนโยบายของพรรคประชาไทย
ในการพิจารณาในรัฐสภาและเพื่อเสนอยกร่างกฎหมายที่เป็นประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชนโดยรวม
   >กฎหมายใดที่หมดความจำเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันหรือที่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตของประชาชน ควรดำเนินการแก้ไข หรือยกเลิก หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ *มาตรา 77 
รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็นและยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพโดยไม่ชักช้าเพื่อไม่เป็นภาระแก่ประชาชน และดำเนินการให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายต่างๆได้โดยสะดวกและสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่ายเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง
     ก่อนตรากฎหมายทุกฉบับรัฐต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นธรรมรวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชนและนำมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการกฎหมายทุกขั้นตอนเมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้วรัฐพึงจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายทุกรอบระยะเวลาที่กำหนดโดยรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วยเพื่อพัฒนากฎหมายทุกฉบับให้สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป.


                    .............
  จัดทำสกู๊ปข่าว และข้อกฎหมายรัฐธรรมนูญโดย 
       (อ.วิชิต ดิษฐประสพ)
มือถือID line 064 5166 794 
ผอ.ฝ่ายกฎหมายพรรคประชาไทย
ว่าที่.ผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคประชาไทย
       (นางปวิมล กุรัมย์)
คณะทำงานพรรคประชาไทย
(ฝ่าย social media)
 ( นายสมชาย แย้มเกษร)
ผช.ผอ.กฎหมายพรรคประชาไทย
ว่าที่.ผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคประชาไทย ภาพ/ข่าว และ
ทีมข่าวหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์อินไซด์ทีวี/หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์ /TT.TV.ทีวีออนไลน์....รายงาน



ข่าวยอดนิยม สังคมสนใจ

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์

ข่าวภูมิภาค เชิญเที่ยว ช๊อป ชิม ริมบึงสามพัน(ถนนคนเดิน) ...