30 มิถุนายน 2565

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์

“รัฐมนตรีเฉลิมชัย” มอบรางวัลเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม  AIC Award 2022 ชูเป็นปีแห่งเทคโนโลยีเกษตร 4.0 มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเกษตรอัพเกรดสู่เกษตรมูลค่าสูง

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในโอกาสเป็นประธานพิธีมอบโล่และใบประกาศเกียรติคุณรางวัลเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม ปี 2565 ( AIC Award 2022 ) โดยมี นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมเกียรติ กอไพศาล ประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายสำราญ สาราบรรณ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายโอภาส ทองยงค์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้ได้รับรางวัล AIC Award 2022  เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 115 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้บูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ โดยขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ซึ่งในปีหน้าจะก้าวเข้าสู่เทคโนโลยีเกษตร 5.0 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพัฒนานวัตกรรมการเกษตร ตามมาตรฐานการเกษตรปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค อีกทั้งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรและอาหาร เพิ่มรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของเกษตรกรไทย โดยมีศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center หรือ AIC) เป็นแหล่งบริการเกษตรกรที่รวบรวมองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร สามารถนำองค์ความรู้ต่าง ๆ ไปใช้พัฒนาต่อยอดการผลิต สามารถเพิ่มมูลค่าการผลิตสินค้าเกษตร และให้สินค้ามีคุณภาพและมาตรฐาน
“การขับเคลื่อนงานของศูนย์ AIC นับว่ามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถ สร้างโอกาสในการแข่งขันในภาคการเกษตร ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สนับสนุนและส่งเสริมเทคโนโลยีเกษตร การประดิษฐ์นวัตกรรม เครื่องจักรกลเกษตร รวมไปถึงเป็นศูนย์อบรมบ่มเพาะเกษตรกร Smart Farmer และ Young Smart Farmer ที่ช่วยผลักดันงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมผ่านการวิจัย การพัฒนา การลงทุน การแปรรูป และการบริหารจัดการเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาสถาบันการศึกษา สู่การเป็นศูนย์ความเป็นเลิศ (Center of Excellence) หรือ CoE เพื่อนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีของศูนย์ CoE ไปใช้ประโยชน์ในภาคการเกษตร ถ่ายทอดไปยังเกษตรกร และกำหนดงานวิจัย ที่เหมาะสมกับความต้องการของพื้นที่ 
ซึ่งการมอบรางวัลเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมประจำปี 2565 หรือ AIC Award 2022 ในครั้งนี้ 





มุ่งหวังให้พัฒนาต่อยอดผลงานนวัตกรรมเพื่ออัพเกรดภาคเกษตรสู่เกษตรมูลค่าสูง สามารถนำไปถ่ายทอดสู่พี่น้องเกษตรกรให้ได้รับความรู้ และสามารถปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ในแต่ละพื้นที่ ต่อไป” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าว
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานกรรมการบริหารศูนย์ AIC กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ร่วมมือกับ สถาบันการศึกษา 69 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัย 58 แห่ง 
สถาบันอาชีวศึกษา 8 แห่ง และสถาบันวิทยาลัยชุมชน 3 แห่ง จัดตั้งศูนย์ AIC รวม 77 ศูนย์ใน 77 จังหวัด และศูนย์ความเป็นเลิศ จำนวน 23 แห่ง เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งอบรมบ่มเพาะและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร ภูมิปัญญาด้านการเกษตร และนวัตกรรมทางการเกษตร ทั้งยังเป็นศูนย์กลางในการให้บริการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเชื่อมโยงความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านการเกษตรระหว่างภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน และเกษตรกร รวมทั้งการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตร การประดิษฐ์นวัตกรรม และเครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรได้นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมและนวัตกรรมการเกษตรไปปรับใช้ในฟาร์มของตน
ทั้งนี้ ศูนย์ AIC ได้ดำเนินการขับเคลื่อนงานเป็นระยะเวลา 2 ปี และในปีนี้คณะกรรมการบริหารศูนย์ AIC ได้มีกิจกรรมการคัดเลือกและมอบรางวัล AIC Award 2022 ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้การขับเคลื่อนศูนย์ AIC เป็นไปอย่างต่อเนื่อง 
เกิดการพัฒนานวัตกรรม เห็นความสำคัญของการสร้างสรรค์รูปแบบนวัตกรรมทางการเกษตร การให้บริการที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร รวมทั้งเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ ให้แก่ผู้สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมและการให้บริการดีเด่นระดับประเทศขึ้น
สำหรับผลการคัดเลือกที่ได้รับรางวัล มีดังนี้ 1. ประเภทนวัตกรรมยอดเยี่ยม สาขานวัตกรรมเกษตรเพื่อเศรษฐกิจ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน “งานวิจัยและบริการวิชาการเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรปูม้า และยกระดับเศรษฐกิจของชุมชนประมงชายฝั่ง” โดย ผศ.ดร. อมรศักดิ์ สวัสดี และคณะ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช รองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ ผลงาน “นวัตกรรมการเลี้ยงหอยนางรมแบบความหนาแน่นสูง” โดย ผศ.ดร.สุพัชชา ชูเสียงแจ้ว และคณะ มหาวิทยาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดตรัง รองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ผลงาน “อาหารทดแทนเกสรดอกไม้สำหรับเลี้ยงผึ้งพันธุ์” โดย ดร.บาจรีย์ ฉัตรทอง และคณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์ความเป็นเลิศแมลงอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ 2. ประเภทนวัตกรรมยอดเยี่ยม 
สาขานวัตกรรมเพื่อสังคมการเกษตร รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน “ไตรโคเดอร์มา⁵ ⁺ ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชมาตรฐานสากล” โดย รศ.ดร.วาริน อินทนา และคณะ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช 
รองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ ผลงาน “กระบวนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากพันธุ์ข้าวพื้นเมืองคุณภาพสูงเพื่อทางเลือกของเกษตรกร”  โดย รศ.ดร. ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย และคณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านข้าวพื้นเมืองล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ รองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ผลงาน “นวัตกรรมกระบวนการสู่การผลิตมะขามหวานคุณภาพจังหวัดอุตรดิตถ์” โดย ผศ.ดร.พิชัย ใจกล้า และคณะ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ 3. ประเภทศูนย์ AIC สมรรถนะสูง รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดเพชรบุรี 
4. ประเภทศูนย์ข้อมูลดีเด่น รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดสมุทรสาคร.



หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์

เปิดเทศกาลบุฟเฟ่ต์ทุเรียนป่าละอูเมืองหัวหิน
เวลา 16.00 น.วันที่ 29 มิถุนายน 65 ที่ลานหน้าศูนย์การบลูพอร์ตหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 
นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิด"เทศกาลบุฟเฟ่ต์ทุเรียนป่าละอูเมืองหัวหิน"
โดยมี นายคมกริช เจริญพัฒนาสมบัติ รอง ผวจ.ปข. นายนพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน นายอุดมสุข นิ่มเซียน นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ร่วมเปิด
สำหรับในงานนี้ทางเกษตรจังหวัดประจวบฯ กลุ่มผู้ประกอบการค้าผลไม้ได้นำเอา ทุเรียนป่าละอู  มังคุด เงาะ สับปะรด มาเปิดใส่ถาดใส่จานเอาไว้รองรับนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติในราคา 499 บาทต่อคนโดยสามารถเข้ามานั่งรับประทานได้แบบไม่อั้น
โดยรายการนี้จะเปิดให้บริการวันละ 4 รอบต่อวันเริ่มตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายนจนถึง 4 กรกฎาคมทั้งนี้เพื่อเป็นการยกระดับผลไม้ของเมืองหัวหินที่มีอยู่อย่าง"ทุเรียน" และเสริมการท่องเที่ยวเปิดเมืองในต้นเดือนนี้
นายสุวัจน์ฯ กล่าวว่า ทุเรียน นี้เป็นผลไม้ไทยที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยจนเป็นเอกลักษณ์ สัญลักษณ์ของประเทศ
คนที่ชื่นชอบ"ทุเรียน" นั้นคือชาวจีนซึ่งปีหนึ่งไทยเราส่ง"ทุเรียน"ไปประเทศจีนอันดับ 1 ส่วนกลุ่มฝรั่งยุโรปนั้นไม่ชื่นชอบ จึงไม่มีตลาดส่งออก
ถ้าประเทศไทยเราเอาผลไม้นานาชนิดมาผสม"มิกซ์" รวมกันเหมือนกับการจัดงาน"เทศกาลบุฟเฟ่ต์ทุเรียนป่าละอูหัวหิน" นี้มันจะผสมกลมกลืนกับการท่องเที่ยวของประเทศไทยเราได้อย่างลงตัวที่สุด ครับ.
สนับสนุนโดย
รายงานข่าว

29 มิถุนายน 2565

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์

แม่ค้าสวนทุเรียนเบตงผุดไอเดียใหม่ ไอศครีมทุเรียนมูซังคิง สูตรโฮมเมด
ยะลา - แม่ค้าสวนทุเรียนเบตงผุดไอเดียใหม่ ไอศครีมทุเรียนมูซังคิง สูตรโฮมเมด เย็นฉ่ำ หอม หวาน มัน อร่อย มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
วันนี้ (29มิ.ย.65) ทุเรียน ได้ชื่อว่าเป็นราชาแห่งผลไม้ รสชาติหวานมัน มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทุเรียนยังสามารถนำมาทำเป็นของหวานได้หลากหลาย เช่นข้าวเหนียวทุเรียน เค้กทุเรียน เป็นต้น 




 ในงานของดีอำเภอเบตงและงานกิ่งกาชาดอำเภอเบตง ประจำปี 2565 ที่ อ.เบตง จ.ยะลา เจ้าของสวนทุเรียนผุดไอเดียเมนูใหม่จากทุเรียน นำไอติมทุเรียนมูซังคิงมาจำหน่าย ประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวมาเลเซีย ต่อคิวซื้อไอศครีมทุเรียนมูซังคิง สูตรโฮมเมด ที่ หอม หวาน มัน อร่อย กันอย่างต่อเนื่อง
น.ส. นภัสสรณ์ พร้อมกิจจานนท์ .แม่ค้าไอศครีมทุเรียนมูซังคิง เปิดเผยว่า ตนมีสวนทุเรียนอยู่ที่ บ้านบ่อน้ำร้อน ต.ตาเนาะแมเราะ ในช่วงฤดูกาลทุเรียนในพื้นที่ นอกจากจะจำหน่ายผลทุเรียนมูซังคิงอย่างเดียวแล้ว จึงได้ลองผิดลองถูกหลายครั้งกว่าจะไอศครีมทุเรียนมูซังคิง ให้คนในครอบครัวได้ลองทาน ก่อนที่จะออกมาขายงานของดีอำเภอเบตงและงานกิ่งกาชาดอำเภอเบตง ซึ่งจะมีคนในพื้นที่ อ.เบตงและพื้นที่ใกล้เคียง มีนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพที่นั่งเครื่องบินมากินทุเรียนของอำเภอเบตงในช่วงนี้ และได้เดินมาเที่ยวงานก็ได้ลิ้มลองไอศครีมทุเรียนมูซังคิง ซึ่งทุกคนต่างก็บอกอร่อย หอม หวาน มัน ทานคู่กับข้าวเหนียวมูนก็ได้หรือทานเปล่าๆ ก็ดับร้อนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย เชื้อสายจีน จะชื่นชอบเป็นอย่างมาก จะมาเป็นกลุ่มและซื้อหลายถ้วย หลายโคนเดินกินในงาน ซึ่งตนขายแบบตักใส่ถ้วย ราคาถ้วยละ 30 บาท ส่วนแบบโคนๆละ 10 บาท โดยในแต่ละวันขายได้เกือบ 200 ถ้วย  สำหรับส่วนผสม ก็จะมีน้ำกะทิ  น้ำตาลทราย  แป้งข้าวโพด นมสดจืด และเนื้อทุเรียนมูซังคิง เลือกเอาเฉพาะเนื้อที่งอมจะดีมาก ส่วนลูกทุเรียนมูซังคิงที่ตั้งโชว์หน้าร้าน ขายกิโลกรัมละ 450 บาท สามารถซื้อกลับไปทานที่บ้านได้หรือเอาเป็นของฝากได้ การันตีความอร่อยของทุเรียนมูซังคิเบตง
นภัสสรณ์ เล่าอีกว่า ตอนนี้ตนยังไม่มีหน้าร้าน มาทดลองขายเฉพาะในงานเท่านั้น ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าซึ่งหลังจากนี้คงจะที่ทางเปิดร้านเป็นทางการ ซึ่งอาจจะไปขายที่สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม ที่บ่อน้ำร้อนเบตง ใกล้บ้าน และใกล้สวนทุเรียนของตน ระหว่างที่นักท่องเที่ยวแช่น้ำร้อนก็อยากกินไอศครีมทุเรียนมูซังคิงของทางเราน่าตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า ในอนาคตอาจจะมีการพัฒนาสูตรทำไอศครีมเป็นผลไม้ต่างๆ นำผลไม้ที่มีอยู่ในสวนมาแปรรูป ช่วยสร้างรายได้เพิ่มขึ้น 
สำหรับผู้ที่อยากมาลิ้มลองรสชาติไอศครีมทุเรียนมูซังคิง มาได้ที่งานของดีอำเภอเบตงและงานกิ่งกาชาดอำเภอเบตง ระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน - 3 กรกฎาคม 2565 10 วัน 10 คืน ทางเข้าโรงแรม การ์เด้น วิว เบตง ตรงข้ามบูธของสำนักงานเกษตรอำเภอเบตง โทรสอบถามได้ที่ น.ส. นภัสสรณ์ พร้อมกิจจานนท์ .แม่ไอศครีมทุเรียนมูซังคิง 089-6554174   
 (มีเสียงสัมภาษณ์แม่ค้าท้ายคลิป)
ข่าว..เจษฎา สิริโยทัย อ.เบตง จ.ยะลา  โทร.064-126-5593 – 080-036-2786


28 มิถุนายน 2565

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์

ลูกเสือจิตอาสาพระราชทานโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 3 ศึกษาดูงานโคกหนองนา แห่งน้ำใจและความหวังกรมราชทัณฑ์ เรือนจำอำเภอเบตง


         เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2565 ที่เรือนจำชั่วคราวทุ่งปูโป๊ะ หมู่ที่ 6 ตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา นายวินัย หมวกมณี ผู้บัญชาการเรือนจำอำเภอเบตง มอบหมายให้นายมูหมัดยูซุป เบ็ญอาซิส นักทัณฑวิทยาชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการส่วนพัฒนาผู้ต้องขัง ให้การต้อนรับการศึกษาดูงานโครงการพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว “โคกหนองนา แห่งน้ำใจและความหวังกรมราชทัณฑ์” จากลูกเสือจิตอาสาพระราชทานของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 3 จำนวน 80 คน และวิทยากรลูกเสือ 17 คน
      นายมูหมัดยูซุป เบ็ญอาซิส นักทัณฑวิทยาชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการส่วนพัฒนาผู้ต้องขัง กล่าวว่า โครงการพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว "โคกหนองนาแห่งน้ำใจและ ความหวัง กรมราชทัณฑ์" 








เป็นโครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยให้แก่ผู้ต้องขังที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษ อันเกิดจากพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ทรงเล็งเห็นว่าผู้ต้องขังที่จะพ้นโทษออกไปนั้นอาจจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด- 19 ซึ่งอาจส่งผลกระทบในการใช้ชีวิตของผู้พ้นโทษ จึงได้พระราชทานโครงการโคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง กรมราชทัณฑ์ เพื่อใช้เป็นหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย ในการฝึกอบรมผู้ต้องขังอันจะเป็นพื้นฐานในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ และการใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวภายหลังพ้นโทษ 
     สำหรับการฝึกโครงการดังกล่าว ได้ดำเนินการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเป็นระยะเวลา 14 วัน แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การอบรมพึ่งตนเองด้วยทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นที่ 2 การแปลงทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย การออกแบบแนวความคิด การบริหารจัดการพื้นที่ขนาดเล็ก การประยุกต์ทฤษฎีใหม่แบบชาวบ้าน ปั้นโคก ชุดหนอง ทำนาตามภูมิสังคมลงบนกระดาษ การสร้างพื้นที่จำลอง (Table Top Exercise) และวางแผนการปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4อย่าง เพื่อพออยู่ พอกิน พอใช้ และพอร่มเย็น การปฏิบัติพื้นที่จริงตามทฤษฎีใหม่แบบชาวบ้านปั้นโคก ขุดหนอง ทำนาตามภูมิสังคม และขั้นที่ 3 การสรุปและประเมินผล 
    ทั้งนี้ ผู้ต้องขังที่จะได้รับการพันโทษในโอกาสต่อไป จะได้นำไปปรับใช้ในพื้นที่ตามภูมิลำเนาของตนเองอันเป็นการสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการ สืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและช่วยกันพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป 
ข่าว..เจษฎา สิริโยทัย อ.เบตง จ.ยะลา  โทร.064-126-5593 – 080-036-2786


หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์

>เลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562
กติกาบัตรเลือกตั้งใบเดียว พรรคการเมืองไม่มีเบอร์
>การตั้งครั้งหน้าที่จะถึงนี้ด้วยกติกาบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ แยกเบอร์

ติดตามรายการเกาะติดสภา
    "ตามดูผู้แทน"
ประชุมร่วมรัฐสภา
>พิจารณากฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.และกฎหมายพรรคการเมือง
ดำเนินรายการโดย อ.วิชิต ดิษฐประสพ
ผู้สื่อข่าวอาวุโสหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์อินไซด์ทีวี TTTV ทีวีออนไลน์ 
มือถือID line 064-516-6794
เผยแพร่และรายงานข่าว

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์

   เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2565 เวลา 07.00 น.ที่บ้านเลขที่ 23/6 ม.3 พระธาตุช่อแฮ ต.ป่าแดง อ.เมือง จ.แพร่ มีนายณัฐวุฒิ  ยอดเวียงไชยเจ้าของตำหนักพระแม่อุมาเทวี(หมอดูดวง,พยากรณ์) 
ได้จัดงานป๋าเวณีไหว้ครูประจำปี 2565(3 ปีหน)ชัยยะรัตนมงคลอันประเสริฐ  จุลศักราชได้ 1383 ตั๋ว ปีล้วงเป้า(ล้านนา)พุทธศักราช 2565 มีการอัญเชิญองค์เทพเจ้าทุกองค์ เจ้านายฝ่ายเหนือ ใต้ มาร่วมงาน ซึ่งในพิธีมีบรมครูท้าวมหาพรหมชินะปันจะระ,พระมหาพรหมอุตตระ(ขุนฝาง),เจ้าฟ้าเมืองครอง,เจ้าแม่เหมี่ยวซา,เจ้าฟ้าเวียงแก้ว,เจ้าน้อยขุนโสยศ,แม่เจ้าผกากรอง,เจ้าพ่อเสือภูหลวง,เจ้าพ่อขุนลั้วะอ้ายก้อม,เจ้าปู่ดงฮักผาผึ้ง 
    ช่วงเช้ามีการทำพิธีหราห์ม มีเครื่องเซ่นไหว้ ต่างๆครบ ตามพิธีบวงสรวงทั่วไป  ในเต็นท์มีชั้นวางมีดดาบ หมวกแบบโบราณ ข้าวตอกดอกไม้ หมากพลูไว้บนหิ้ง (ทางเหนือว่า ฮ้าน)มีม้าขี่ของแต่ละสำนักได้มาร่วมพิธีมากมายลายจังหวัดหลายอำเภอทั่วภาคเหนือ(ล้านนา)มาร่วมงาน ที่มาไกลสุดมาจาก แม่ฮ่องสอนและ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่
มีวงปี่พาทย์คณะมาลัยบรรเทิงศิลป์จากจังหวัดลำปางมาบรรเลงให้สาวกม้าขี่แต่ละตำหนักได้รำ  แต่ละองจะแต่งองค์ ทรงเครื่อง ไม่เหมือนกัน และคนที่จะมารำนั้น ไม่ใช่ว่าใครก็มารำได้ นอกจากสาวกที่ได้ทำพิธีเท่านั้น แต่ละองค์ต้องเตรียมมาเอง  ก่อนที่จะลงมารำ นั้น ทุกคนจะต้องมาจับผ้าสีแดงที่ผูกไว้ติดราวเต็นท์มีสวยดอก ธูปเทียนผูกไว้กับผ้าสีแดงให้ผู้ที่รำมาจับผาสีแดง กำเอาไว้ให้แน่นแล้วยืนนิ่งซักวินาทีหนึ่งก็จะมีอาการต่างๆแต่ละคนไม่เหมือนกัน ตามที่เห็นในคลิปอาการเหมือนผีเข้า แต่ก็ยังมีความรู้สึกตัวอยู่ ทางเหนือเรียกว่า "ผีตือ"จากนั้นก็จะมารับขัน รับเครื่องแต่งองค์เข้ารำ(ไม่ใช่ร่ายรำและไม่ใช่รำวง)เป็นการรำธรรมดา มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง 
     ช่วงพักเที่ยงมีการแสดงซอล่องน่าน มาเล่าขานถึงงาน เป็นวัฒนธรรมของพื้นบ้านเมืองเหนือล้านนา ที่ควรอนุรักษ์เอาไว้ หาดูได้ไม่บ่อยนัก
      ได้ร่ายคำซอว่ามีเจ้าพ่อเมืองด้งมาด้วย ผู้สื่อข่าวสนใจเพราะว่าวันที่ 25 มิ.ย.65 ที่ผ่านมา 1 วัน ทางผู้นำท้องที่,ท้องถิ่นพี่น้องชาวตำบลป่าสัก อ.วังชิ้นฯได้มีพิธีอัญเชิญราชานุสาวรีย์เจ้าหลวงหมื่นด้งนครมาประดิษฐานไว้ที่เมืองเก่า พึ่งผ่านมานี่เอง จึงได้ไปสอบถาม ความเป็นมา ทราบว่าเป็นคนบ้านสลก ต.แม่เกิ๋ง อ.วังชิ้น จ.แพร่มีครอบครัวอยู่ที่ ต.แม่ต๋ำ อ.เมืองพะเยา มีอาชีพทำแถป เครื่องหมายของราชการ บอกว่าได้เป็นม้าขี่ของขุนศึกเจ้าพ่อเมืองด้ง ไม่ใช่เจ้าหลวงหมื่นด้งนคร  ในอดีตเมื่อก่อนโน้นเคยได้รบจับศึกไปกับเจ้าหมื่นด้งนครเป็นแม่ทัพใหญ่ช่วยกันรบเคียงบ่าเคียงไหล่มาตลอด จนสิ้นอายุขัย เมื่อ10 กว่าปีมานี้ มีร่างประทับเข้าทรง จึงได้ปฎิบัติมา 10กว่าปีแล้ว มีตำหนักอยู่ที่แม่ต๋ำจึงใช้ชื่อว่าเจ้าพ่อเมืองด้ง เป็นการบอกเล่าของม้าขี่ เท็จจริงแค่ไหน ยังพิสูจน์ไม่ได้ ซึ่งการมีสำนักหรือ ตำหนัก ต่างๆนั้นมีมานานแล้ว เป็นความเชื่อ และเป็นที่พึ่งของคนที่มีปัญหาต่างๆที่คิดไม่ออก ต้องไปลงเจ้าเข้าทรงเพื่อถามความกระจ่าง แนวทางแก้ไข ผู้สื่อข่าวเคยได้ไปใช้บริการอยู่ ที่หมู่บ้านเหมือนกันเป็นสิ่งลี้ลับ ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ สิ่งที่มองไม่เห็น ไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องงมงาย  เป็นความเชื่อของแต่ละบุคคล ควรพิจารณา  ถึงแม้นว่าหลักคำสอนของศาสนาพุทธ ไม่ให้เชื่อ หลงงมงายสิ่งเหล่านี้ก็ตาม ก็มีคนอีกมากมายยังมีความเชื่อ ศรัทธาในสิ่งเหล่านี้อยู่ เป็นสิทธิส่วนบุคคล ห้ามกันไม่ได้
ร.ต.อ.ธนาเดช ดอกจือ หัวหน้าศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์จังหวัดแพร่
สนับสนุนโดย
รายงานข่าว

ข่าวยอดนิยม สังคมสนใจ

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์

ข่าวภูมิภาค เชิญเที่ยว ช๊อป ชิม ริมบึงสามพัน(ถนนคนเดิน) ...