20 พฤษภาคม 2566

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์


  “พรรคประชาธิปัตย์”ตั้งเป้าเติมทุนเกษตรอินทรีย์แปลงใหญ่ 3 ล้านขยายเกษตรอินทรีย์2ล้านไร่ผลิตปุ๋ยชีวภาพ 5 ล้านตัน เดินหน้าเกษตรคาร์บอนต่ำลดโลกร้อน 
   “อลงกรณ์”ประกาศกลางเวทีดีเบต
ปักธง 10 นโยบายเกษตรกรรมยั่งยืน ภายใต้ยุทธศาสตร์”เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคง เกษตรยั่งยืน” 
นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคในฐานะทีมเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมการดีเบตในหัวข้อ”พรรคการเมืองกับนโยบายเกษตรกรรมยั่งยืนและปัญหาความมั่นคงทางอาหาร”ที่อาคารชีววิถี
จัดโดยภาคีเครือข่ายสมาคมสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน เกษตรอินทรีย์ ไบโอไทย มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ โดยกล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ตั้งเป้าหมายของนโยบายเกษตรทันสมัยสู่ครัวไทยครัวโลก
1.ประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารท็อปเทน
ของโลกอย่างมีความรับผิดชอบต่อเกษตรกรและผู้บริโภค
2.เพิ่มGDPเกษตรเป็น10%
3.เพิ่มรายได้เกษตรกร 100%
จึงได้กำหนด 10 นโยบายเกษตรกรรมยั่งยืน เกษตรสุขภาพ และความมั่นคงทางอาหารเชิงปริมาณและคุณภาพภายใต้ยุทธศาสตร์”3 เอส.”(3 S : safety security sustainability) เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคง เกษตรยั่งยืนตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนฐานเทคโนโลยี ศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาไทย
1. ส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน ขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์ 2 ล้านไร่ เดินหน้าเกษตรคาร์บอนต่ำลดโลกร้อน
2. เติมทุนเกษตรอินทรีย์แปลงใหญ่ 3 ล้าน ส่งเสริมสนับสนุนสภาเกษตรอินทรีย์PGSแห่งประทศไทยเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ออกานิคและกสิกรรมธรรมชาติ
3. เพิ่มปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ 5 ล้านตัน จัดตั้งศูนย์บริการปุ๋ย-น้ำชุมชนทุกตำบล
4. ตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตร นวัตกรรม เครื่องจักรกล(AIM C:Agritech Innovation Machine Center) Application Agrimap ส่งเสริมการวิจัยพัฒนานวัตกรรมชีวภัณฑ์ เกษตรอัจฉริยะ เกษตรอินทรีย์ อบรมบ่มเพาะและถ่ายทอด พัฒนาเกษตรกร-สหกรณ์และสถาบันเกษตรกร
5. คุ้มครองสิทธิเกษตรกร พันธ์ุพืชพันธ์ุสัตว์และ ความหลากหลายทางชีวภาพ(Biodiversity )โดยเฉพาะในส่วนเกี่ยวข้องกับ FTA ที่จะเจรจา และข้อตกลงอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งปัจจุบันและอนาคตเช่น UPOV - CPTPP และ FTA EU /UAE EFTA
6. เร่งสนับสนุนการขับเคลื่อนกลไกเกษตรกรรมยั่งยืนระดับชาติ คณะกรรมการเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง คณะกรรมการเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล คณะกรรมการเกษตรกรรมยั่งยืนระดับพื้นที่ 77 จังหวัด
7. สนับสนุนความมั่นคงทางอาหารทั้งเชิงปริมาณ คุณภาพ และโภชนาการที่ดี
8. ส่งเสริมอาหารแห่งอนาคต เช่น โปรตีนทางเลือกใหม่ได้แก่โปรตีนจากพืช โปรตีนจากแมลงสาหร่าย ผำ แหนแดง อาหารฮาลาล
9. ส่งเสริมเกษตรปลอดภัย เกษตรสุขภาพ ลดใช้ปุ๋ยเคมีและสารพิษอันตราย 
10. สร้างกลไกใหม่ ขยายความร่วมมือภาคีเครือข่ายระหว่างภาคเอกชน ภาคเกษตรกรและภาควิชาการ และภาครัฐเพิ่มบทบาทด้านเกษตรกรรมยั่งยืนของ”มกอช.”  “อย.”และกรมพัฒนาที่ดิน กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมข้าว กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นต้น

“4ปีที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์โดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เลขาธิการพรรคในฐานะประธานคณะกรรมการเกษตรกรรมยั่งยืนระดับชาติ ได้ยกระดับนโยบายเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นวาระแห่งชาติสร้างกลไกใหม่ๆเช่น จัดตั้งคณะกรรมการเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล 7,255 ตำบลในทุกจังหวัดและ ร่วมมือเครือข่าวเกษตรอินทรีย์เกษตรกรรมยั่งยืนกสิกรรมธรรมชาติจัดตั้งสภาเกษตรอินทรีย์PGSแห่งประเทศไทยและส่งเสริมเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ทะลุ1ล้านไร่สนับสนุนการผลิตปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์2ล้านตันสำเร็จมาแล้ว พรรคประชาธิปัตย์เล็งเห็นความสำคัญการแก้ไขปัญหาภาวะความไม่มั่นคงทางอาหารในเมือง เนื่องจากในปี2562 ประเทศไทยมีประชากรในเมืองมากกว่าในชนบทเป็นครั้งแรกสะท้อนถึงการขยายตัวของเมือง (Urbanization) และชุมชนเมืองมีการผลิตอาหารได้เองไม่ถึง 10% เป็นเหตุผลสำคัญที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในยุคปัจจุบันต้องเร่งขับเคลื่อนพัฒนาการเกษตรในเมือง (Urban Agriculture) จึงจัดตั้งคณะกรรมการเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองระดับพื้นที่ 77 จังหวัดโดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และยุคต่อไป (Next normal) ที่ต้องให้ความสำคัญระบบนิเวศน์เมืองเรื่องสุขภาพคนและคุณภาพเมือง
จึงขอสานงานต่อก่องานใหม่เดินหน้าเกษตรกรรมยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหารภายใต้ยุทธศาสตร์พรรคสร้างเงินสร้างงานสร้างชาติด้วย10นโยบายข้างต้น”นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด.
สมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนนานาชาติ
 รายงานข่าว

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์

“อลงกรณ์”ชูผลงานประชาธิปัตย์ส่งออกสินค้าประมงสูงสุดในรอบ9ปี ประกาศ 10 นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมประมงครบวงจรภายใต้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสีฟ้า(Blue Economy) สร้างมูลค่า 6 แสนล้าน ดันไทยยืนหนึ่งประมงโลก เดินหน้าตั้งสภาการประมงฯ.ปลดล็อกพรก.ประมง ประกันราคาสัตว์น้ำ นำเรือออกนอกระบบจ่ายจบ90วัน เติมทุนประมงพื้นบ้าน ฟื้นฟูประมงนอกน่านน้ำ ทวงแชมป์อุตสาหกรรมกุ้งไทย

https://youtu.be/0Gi2_ghZgJ0
นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเพชรบุรี เขต 1 ในฐานะทีมเศรษฐกิจกล่าวในเวทีดีเบต "อนาคตประมงไทยหลัง
การเลือกตั้ง" วันนี้(4พ.ค.)ที่องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ThaiPBS)ว่า พรรคประชาธิปัตย์เชื่อมั่นในศักยภาพประมงไทยโดยยกระดับนโยบายประมงเป็นวาระเร่งด่วนแห่งชาติ บนแนวทางการพัฒนาประมงอย่างยั่งยืน สู่เป้าหมายประเทศผู้นำประมงโลกภายใต้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสีฟ้า (Blue Economy) สร้างมูลค่า 6 แสนล้าน สร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ 5 แนวทาง 
1. เร่งรัดพัฒนาอุตสาหกรรมประมง กระจายการลงทุน 18 กลุ่มจังหวัด 
2. สร้างฐานใหม่ เขตเศรษฐกิจพิเศษประมง อ่าวตัว ก.,อันดามัน,อ่าวไทย, 4 จังหวัดใต้สุด และทุกภาค 
3. ส่งเสริมการลงทุนประมงไทยในต่างประเทศ 
4. ฟื้นฟูพัฒนาประมงสู่ศักยภาพใหม่ ทั้งประมงนอกน่านน้ำ ประมงพาณิชย์ ประมงพื้นบ้าน อุตสาหกรรมกุ้งไทย และประมงเพาะเลี้ยงรวมถึงอุตสาหกรรมประมงแห่งอนาคต เช่นอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง อาหารแห่งอนาคต(สาหร่าย โปรตีนทางเลือกใหม่)ประมงอินทรีย์ ประมงมูลค่าสูง (เวชสำอางค์ วิตามิน ยา-อาหารเสริม)และประมงท่องเที่ยว
5. เดินหน้าการทูตเศรษฐกิจเชิงรุก

สำหรับ 10 นโยบายประมงเร่งด่วน ที่พรรคประชาธิปัตย์มุ่งดำเนินการสร้างอนาคตประมงไทยได้แก่ 
1. การปลดล็อคกฎหมายประมงภายใต้IUU 
2. การเริ่มต้นใหม่ (Set Zero )จัดประชาพิจารณ์ ประเด็นนิรโทษกรรมเรือประมง
3. โครงการเรือประมงออกนอกระบบจบใน 90 วันเฟส 1 จำนวน 1,007 ลำ และ120วัน เฟส 2 จำนวน 792 ลำ 
4. การประกันราคากุ้งขั้นต่ำและสัตว์น้ำอื่น ๆโดยภาคเอกชนในระบบไตรภาคี โดยมีการขับเคลื่อนมาแล้วโดยบอร์ดกุ้ง
5. เติมทุนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น1แสนต่อปี
6. น้ำมันประมงราคาถูกสำหรับประมงพื้นบ้าน 5 หมื่นลำ 
7. จัดตั้งธนาคารหมู่บ้านประมง ธนาคารชุมชนประมง 2 ล้าน
8. จัดตั้งสภาการประมงแห่งประเทศไทยและกองทุนประมงแห่งชาติ
9. ต่อยอดศูนย์ AIC ประมง ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาการประมงและอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ 
10. บริการดิจิตอลเสร็จภายใน 4 ปี สานต่อโครงการ E-Fisheries NSW
“พรรคประชาธิปัตย์ดูแลกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรฯ.ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพประมงไทยสามารถสร้างเงินเข้าประเทศในปี2565จากการส่งออกสินค้าประมง 2.3 แสนล้านบาท สูงสุดใน 9 ปี ในขณะที่นำเข้า 1.5 แสนล้านบาทโดยได้เปรียบดุลการค้ากว่า 8 หมื่นล้านบาท แยกเป็นการส่งออกทูน่ากระป๋อง5 แสนตัน มูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาท สูงสุดในรอบ 7 ปี 
ส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์1.5 แสนตัน มูลค่ากว่า 5 หมื่นล้าน สูงสุดในรอบ 3 ปี และส่งออกอาหารกระป๋องสาหรับสุนัขและแมว 1.4 แสนตัน มูลค่า 1.9 หมื่นล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์.”นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด
สมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนนานาชาติ
 รายงานข่าว

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์

“อลงกรณ์”ปลื้มส่งออกข้าวไทย 4 เดือน พุ่ง 3.05 ล้านตัน ดันราคาข้าวในประเทศสูง ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้น คาดปี2566 ส่งออกทะลุเป้า7.5ล้านตัน 
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าววันนี้(14 พ.ค.)ว่า เป็นข่าวดีที่การส่งออกข้าวของไทย 4 เดือนแรกของปีนี้ มีปริมาณสูงถึง 3.05 ล้านตัน และความต้องการข้าวในตลาดยังมีต่อเนื่อง ส่งผลทำให้ราคาข้าวในประเทศเกือบทุกประเภทสูงเกินราคาประกันรายได้โดยเฉพาะข้าวเจ้าซึ่งมีปริมาณการผลิตมากที่สุด คาดว่า การส่งออกข้าวของไทยในปี2566 จะทะลุเป้าหมาย 7.5ล้านตันและน่าจะแซงตัวเลขการส่งออกข้าวในปี2565

สำหรับการส่งออกข้าวไทยปี 2565 อยู่ที่ 7.69 ล้านตัน โดยปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น 22.1% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการส่งออกสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 7.5 ล้านตัน ขณะที่มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 138,451.8 ล้านบาท คิดเป็น 3,970.9 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น 26.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

“ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต เกษตรผลิตพาณิชย์ตลาดเป็นยุทธศาสตร์หลักบนความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อนและกระทรวงพาณิชย์โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มุ่งทำงานเชิงรุกร่วมกับภาคเอกชน และภาคเกษตรกรมีการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้ผลผลิตต่อไร่สูงมีคุณภาพมาตรฐานตรงความต้องการของตลาด การยกระดับข้าวแปลงใหญ่พร้อมกับเพิ่มกิจกรรมส่งเสริมการตลาดในต่างประเทศมากขึ้นรวมทั้งค่าเงินบาทอยู่ในระดับที่แข่งขันได้เป็นปัจจัยสำคัญทำให้การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่แล้วจนถึงปีนี้ ประการสำคัญคือชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้น”นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด.
สมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนนานาชาติ
รายงานข่าว

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์

“อลงกรณ์”เรียกร้องพรรคการเมืองและสว.เคารพเสียงประชาชนหนุน”ก้าวไกลตั้งรัฐบาล พิธาเป็นนายกฯ.”
นายอลงกรณ์ พลบุตร อดีตรัฐมนตรี อดีต ส.ส.และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เขียนเฟสบุ๊คส่วนตัวแสดงความคิดเห็นสนับสนุนพรรคก้าวไกลให้จัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศหลังทราบผลการเลือกตั้งวันนี้(15 พ.ค.)โดยเขียนไว้อย่างน่าสนใจดังนี้
…….
“ควรเคารพเสียงประชาชน
ให้”ก้าวไกล”ตั้งรัฐบาลปฏิรูปประเทศ”

ประเทศไทยถึงจุดเปลี่ยนสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
เมื่อประชาชนกว่า14ล้านคนเลือกพรรคก้าวไกลเป็นอันดับ1ของประเทศทั้งส.ส.แบบเขตเลือกตั้งและส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ด้วยความเชื่อมั่นว่า พรรคก้าวไกลจะสร้างการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศสู่อนาคตที่ดีกว่าปัจจุบัน

ผมเชื่อว่า นักการเมืองทุกคนไม่ว่าสังกัดพรรคใด คงยอมรับว่า พรรคก้าวไกลเป็นพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งด้วยวิสัยทัศน์ นโยบายและความเป็นผู้นำของคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล โดยไม่มีการซื้อเสียง เป็นชัยชนะที่ขาวสะอาด

ผมหวังว่า ทุกพรรคการเมืองและสมาชิกวุฒิสภาจะเคารพเสียงของประชาชน และเปิดโอกาสให้พรรคก้าวไกลสามารถจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศและคุณพิธาได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 นำประเทศก้าวข้ามความล้าหลังความยากจนและความแตกแยกขัดแย้ง เดินหน้าปฏิรูปประเทศสร้างศักยภาพใหม่ประเทศไทยให้สำเร็จ และสร้างประชาธิปไตยโดยประชาชนของประชาชนเพื่อประชาชนในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข.

อลงกรณ์ พลบุตร
15 พ.ค. 2566
สมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนนานาชาติ
 รายงานข่าว

03 พฤษภาคม 2566

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์

“อลงกรณ์”ผนึกสหกรณ์นาเกลือทั่วประเทศลงนามสัตยาบันประกันราคาเกลือขั้นต่ำครั้งแรกของประเทศเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายกระดับอาชีพการทำนาเกลือทะเลไทยให้เข้มแข็งและยั่งยืน
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดงานการบูรณาการความร่วมมือและการบริหารจัดการเกลือทะเลครบวงจร และการลงนามลงนามทำสัตยาบันประกันราคาเกลือทะเลขั้นต่ำเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาเกลือทะเล พร้อมบรรยายพิเศษ หัวข้อ “ทางรอดเกลือทะเลไทย” ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติฯ ชั้น 2 อาคารคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี วันนี้(2พ.ค.)ว่า จากสถานการณ์เกลือทะเลไทยในปัจจุบัน เกษตรกรที่ทำนาเกลือทะเลมีจำนวนลดลงอย่างมาก เนื่องจากการทำนาเกลือทะเลต้องอาศัยปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ อีกทั้งการทำนาเกลือทะเลสามารถทำได้เพียง 1 ฤดูการผลิตเท่านั้น ซึ่งผลผลิตจะออกสู่ตลาดพร้อมกันในช่วงฤดูแล้ง ทำให้ราคาตกต่ำ แต่หากฤดูการผลิตใดสภาพภูมิอากาศแปรปรวน ส่งผลให้เกิดภัยธรรมชาติ ผลผลิตก็จะออกสู่ตลาดน้อย ทำให้ราคาสูงขึ้น

ดังนั้นเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการเกลือทะเลไทย ภายใต้มาตรการการจัดการและป้องกันแก้ไขปัญหาเกลือทะเล ปีการผลิต 2565/66 รักษาเสถียรภาพด้านราคาสินค้าเกลือทะเลให้มีความเหมาะสม และขยายช่องทางการตลาดของเกลือทะเลคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทยจึงมีการกำหนดราคาขั้นต่ำของเกลือทะเลไทย 3 ชนิด คือ เกลือขาว ตันละ 1,800 บาท  เกลือกลาง ตันละ 1,500 บาท และเกลือดำ ตันละ 1,300 บาท รวมทั้งจัดให้มีการลงนามทำสัตยาบันเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาเกลือทะเล โดยมีผู้แทนองค์กรเกษตรกรที่เกี่ยวข้องร่วมทำสัตยาบันในครั้งนี้ ประกอบด้วย ชุมนุมสหกรณ์เกลือทะเลไทยจำกัด สหกรณ์การเกษตรเกลือทะเลไทยเพชรบุรี จำกัด สหกรณ์การเกษตรนาเกลือสมุทรสงคราม จำกัด สหกรณ์การเกษตรนาเกลือบางแก้ว จำกัด สหกรณ์การเกษตรนาเกลือสมุทรสาคร จำกัด สหกรณ์กรุงเทพ จำกัด และสมาพันธ์ชาวนาเกลือทะเลไทยซึ่งเป็นราคาขั้นต่ำที่สหกรณ์นาเกลือเสนอต่อและคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทยเห็นชอบ ทั้งนี้สหกรณ์นาเกลือทุกแห่งจะต้องรักษาระดับราคาเกลือด้วยการไม่ขายต่ำกว่าราคาเกลือขั้นต่ำตามที่ลงนามข้อตกลงสัตยาบัน
และขอให้ผู้ประกอบกิจการค้าเกลือและอุตสาหกรรมที่ใช้เกลือร่วมมือในการซื้อเกลือไม่ต่ำกว่าราคาประกันขั้นต่ำด้วย โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนที่มีผลผลิตเกลือออกมามาก รวมทั้งการสร้างยุ้งฉางเกลือมาตรฐานให้มากขึ้นสำหรับการเก็บเกลือเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาเกลือ ทุกภาคส่วนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำจะต้องช่วยสนับสนุนกันและกันเป็นหุ้นส่วนกัน

นายอลงกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย คณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย ได้ขับเคลื่อนการพัฒนาเกลือทะเลไทยแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ ได้แก่ การวิจัยและพัฒนา การผลิต กลางน้ำ ได้แก่ การแปรรูป การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และปลายน้ำ ได้แก่ การสร้างแบรนด์ การตลาด การผสมผสานระหว่างสินค้าและบริการ เชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการพัฒนาระบบนิเวศแบบสมดุลเพื่อความยั่งยืน ภายใต้ยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีแนวทางการดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาเกลือทะเลไทย  ดังนี้

1. ส่งเสริมเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม โดยต่อยอดภูมิปัญญาและความรู้ของปราชญ์ชาวบ้านในการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปเกลือทะเล
2. ส่งเสริมให้เกษตรกร สามารถพัฒนาการประกอบอาชีพการทำนาเกลือ ให้ได้มาตรฐานสากล โดยการส่งเสริมความรู้ ทักษะ และเตรียมความพร้อมทั้งในด้านกระบวนการผลิต และขั้นตอนการขอรับรองมาตรฐาน GAP เพื่อให้เกษตรกรได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับเกลือทะเล
3. ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรนาเกลือ ด้านหนี้สิน ชีวิตความเป็นอยู่ และความมั่นคงและยั่งยืนในอาชีพ ภายใต้โครงการต่างๆ เพื่อให้สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุด
4. ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกลือทะเล เริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิต การบริหารจัดการ การตลาด และการรวมกลุ่ม โดยใช้นโยบายส่งเสริมการปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ (Zoning) นโยบายส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มอำนาจการต่อรอง เพื่อมุ่งเน้นให้เกษตรกรสามารถอยู่ได้โดยพึ่งพาตนเองและยกระดับเป็นเกษตรกรต้นแบบ (Smart Farmer) โดยใช้แนวทางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 5. ประสานความร่วมมือกับสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ของประเทศต่างๆ และองค์กรทางด้านวิชาการ โดยมีสถาบันเกลือทะเลไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นศูนย์กลาง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน สร้างโอกาส สร้างมูลค่าเพิ่ม และขยายช่องทางการตลาดของเกลือทะเลไทยทั้งในและต่างประเทศ 
6.ประสานความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนของประเทศญี่ปุ่น ทางด้านเทคโนโลยีการผลิตสาหร่ายทะเลและสาหร่ายน้ำจืด และการตลาดผลิตภัณฑ์จากเกลือทะเลไทย เพื่อส่งเสริมการผลิตสาหร่ายในนาเกลือทะเล และการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยใช้เกลือทะเลเป็นวัตถุดิบหลัก ทั้งระดับชุมชนและระดับอุตสาหกรรม
7.ประสานความร่วมมือกับหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อร่วมส่งเสริมสินค้าเกลือทะเล สาหร่ายทะเล สาหร่ายน้ำจืด เพื่อนำไปประกอบอาหารในร้านอาหารและโรงแรมของกลุ่มธุรกิจ รวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรบนเส้นทางสายเกลือ (Salt road)
และ 8. พัฒนาห่วงโซ่การเพิ่มมูลค่าเกลือทะเลไทย (BCG Value Chain เกลือทะเลไทย) ภายใต้รูปแบบเศรษฐกิจ BCG Model โดยจะพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy)  มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของเกลือทะเล โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เช่น เครื่องสำอาง เวชภัณฑ์ และอุตสาหกรรมต่างๆ เชื่อมโยงระหว่าง เกษตรกร องค์กรเกษตรกร กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และสร้างแบรนด์สินค้าเกลือทะเลให้เป็นที่ยอมรับ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยส่งเสริมให้เกษตรกรชาวนาเกลือหันมาใช้พลาสติกปูพื้นนาเกลือ ที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ รวมทั้งการนำวัสดุที่เหลือใช้จากการผลิตนำไปใช้งานในกิจกรรมอื่น เช่น การใช้ขี้แดดนาเกลือและเกลือดำในสวนไม้ผล การนำยิปซั่มที่ได้จากนาเกลือมาปรับสภาพดินในการเกษตร หรือในอุตสาหกรรมการผลิตดินสอพองและปูนปลาสเตอร์  และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) คือความสมดุลและยั่งยืน โดยกระบวนการผลิตเกลือทะเลไม่ได้ใช้สารเคมีทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อทดแทนน้ำมันในเครื่องจักรการผลิตเกลือทะเล รวมทั้งสืบสานวัฒนธรรมประเพณีเกี่ยวกับการทำนาเกลือ เช่น พิธีแรกนาเกลือ พิธีทำขวัญนาเกลือ และพัฒนาพื้นที่นาเกลือทะเลไทยให้เป็นมรดกทางการเกษตรโลก (GIAHS) ในอนาคตอันใกล้นี้ 

สำหรับงานในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย นายนวนิตย์ พลเคน  ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขต 4 นายชาญยุทธ์ ภาณุทัต ที่ปรึกษากรมส่งเสริมการเกษตร ผศ.ดร.วนิดา มากศิริ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร นางสาวศิริวรรณ เครือเล็ก เกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนเกษตรกรชาวนาเกลือ

นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการผลการดำเนินงานของสถาบันเกลือทะเลไทย มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี และการเสวนาในหัวข้อ “การบริหารจัดการโลจิสติกส์และการตลาดเกลือทะเล” โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิอีกด้วย
สมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนนานาชาติ
 รายงานข่าว

ข่าวยอดนิยม สังคมสนใจ

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์

ข่าวภูมิภาค เชิญเที่ยว ช๊อป ชิม ริมบึงสามพัน(ถนนคนเดิน) ...