07 พฤศจิกายน 2564

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์

🎉ขอแสดงความยินดีกับ
#ครูขวัญศิษย์ จังหวัดระนอง
นางพรพิมล คำนวณศิลป์ ตำแหน่งครู ค.ศ.3 โรงเรียนสตรีระนอง “ครูขวัญศิษย์” ผู้ได้รับรางวัล “ครูขวัญศิษย์”ประจำปี 2564 จังหวัดระนอง
ได้รับการเสนอชื่อจากสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2510 อายุ  53 ปี ทำหน้าที่ครูผู้สอน ผู้จัดการเรียนรู้ ตั้งแต่ พ.ศ.2534 ถึง พ.ศ.2563 ในตำแหน่ง ครู ค.ศ.3 โรงเรียนสตรีระนอง ต.เขานิเวศน์ อ.เมือง จ.ระนอง สอนวิชาภาษาไทยในระดับมัธยมศึกษา เป็นผู้มีคุณสมบัติในการรับรางวัล “ครูขวัญศิษย์” ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการคัดเลือกระดับจังหวัดพิจารณา กล่าวคือ เป็นผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตลูกศิษย์ : ในการจัดการสอนและการจัดการเรียนรู้ของครู สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ดีขึ้นอย่างชัดเจน โดยปฎิบัติต่อลูกศิษย์ทุกคนอย่างสม่ำเสมอตลอดชีวิตความเป็นครู ผลการสอนทำให้ลูกศิษย์ประสบความสำเร็จ ทั้งในด้านการเรียน การอาชีพ และการดำเนินชีวิต มีจิตวิญญาณความเป็นครู รักและศรัทธาในวิชาชีพครู มีความรัก เมตตา ช่วยเหลือให้กำลังใจลูกศิษย์ เป็นผู้มีพฤติกรรมที่ดีงาม ทั้งกาย วาจา ใจ ประพฤติ ปฎิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์และเพื่อนครู ได้รับการยกย่องจากลูกศิษย์และผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บังคับบัญชาในอดีตและปัจจุบัน เพื่อ ครู ผู้ปกครอง และผู้นำชุมชน เป็นต้น การมีคุณูปการต่อการศึกษา : การปฏิบัติงานสอนหรือจัดการเรียนรู้ด้วยความทุ่มเท เสียสละ ไม่ย่อท้อต่อข้อจำกัดและความยากลำบาก ค้นคว้าพัฒนาการสอนหรือจัดการเรียนรู้ ในส่วนที่รับผิดชอบและนำไปปฏิบัติได้จริง มีความแตกฉาน ทั้งในเนื้อหา ความรู้ มีองค์ความรู้ นวัตกรรม หรือผลงานที่มีคุณภาพสามารถนำไปเผยแพร่ในระดับประเทศหรือระดับนานาชาติ เป็นแบบอย่าง ได้รับการยอมรับและนำไปขยายผลอย่างกว้างขวาง เป็นแบบอย่างแก่เพื่อนครู และนำไปปฏิบัติได้จริง
        นางพรพิมล คำนวณศิลป์ กล่าวถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้มาเป็นครู ว่า“ชีวิตคนหนึ่งคนเมื่อเกิดมาแล้วย่อมมีสิทธิ์ที่จะเลือกทางเดินให้กับชีวิตของตนเอง และพยายามทำความฝันด้วยการพยายาม มุ่งมั่น ตั้งใจ ฟันฝ่าเพื่อไปให้ถึงจุดมุ่งหมายที่เราฝันไว้ ระหว่างทางอาจมีการเปลี่ยนจุดหมาย เปลี่ยนเส้นทางในหลายครั้ง บางคนยอมแม้กระทั่งกลับมาเริ่มการเดินทางใหม่ แต่ท้ายที่สุดเรามักจะเลือกเส้นทางเพียงหนึ่งเส้นทางที่จะก้าวไปเพื่อให้ถึงจุดหมาย และจะภูมิใจเมื่อการเดินทางนั้นถึงเส้นชัยในที่สุด 
ย้อนกลับไปเมื่อ 40 กว่าปีที่ผ่านมา ดิฉันจำบรรยากาศในบ้านสวนได้ดี ยามค่ำคุณพ่อ คุณแม่ ดิฉันและน้องอีก 2 คนจะนั่งดูโทรทัศน์ รายการที่คุณพ่อชอบเปิดให้ดู คือ ข่าว ระหว่างการดูข่าวคุณพ่อจะมีคำถามมาถามพวกถูกๆ เสมอ คำถามที่คุณพ่อถามส่วนใหญ่จะเกิดจากการเล่านิทาน การดูข่าวแล้วตั้งคำถามในตอนท้ายให้ลูกๆ ตอบว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ถ้าลูกเป็นกระต่ายลูกจะทำเช่นนั้นหรือไม่ เพราะเหตุใด เรื่องนี้ลูกคิดว่าใครผิด ทำไมจึงคิดเช่นนั้น ฯลฯ คำถามที่คุณพ่อถามบางครั้งคุณพ่อจะเขียนใส่สมุดให้พวกเราอ่าน ลายมือของคุณพ่อเป็น ลายมือที่สวยงาม มีระเบียบ ภาพของคุณพ่อที่เป็นผู้เล่า ในขณะที่พวกลูกๆ ล้อมวงนั่งฟังอย่างสนใจ ลายมือของคุณพ่อที่สวยงาม มีระเบียบน่าอ่าน นับวันยิ่งสะสมเป็นภาพความประทับใจที่อยากจะเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ แบบคุณพ่อให้ผู้อื่นได้ฟังและอ่าน นั่นจึงถือเป็นจุดกำเนิดที่ทำให้ดิฉันอยากเป็นครูภาษาไทยขึ้นมาทันทีในขณะนั้นดิฉันกำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา ดิฉันได้พบครูระดับชั้นละ 1 ท่าน ซึ่งท่านเป็นมากกว่าคำว่า "ครู" เพราะต้องดูแลนักเรียนในทุกเรื่อง ตั้งแต่การมาโรงเรียน การแต่งตัว การรับประทานอาหาร ความประพฤติ และที่สำคัญครูสามารถสอนได้ทุกวิชาตั้งแต่เข้าถึงเย็น จำได้ว่าชีวิตตอนที่เรียนระดับประถมศึกษาสนุกมาก ได้ทำอาหาร ปลูกผัก ฝึกตัดลายมือ ฝึกเขียน ฝึกอ่าน ฝึกพูดหน้าชั้นเรียน จึงทำให้ดิฉันเกิดความศรัทธาในอาชีพครูมากยิ่งขึ้น ภาพครูในตอนนั้นของดิฉันก็คือซุปเปอร์แมนนั่นเอง ซุปเปอร์แมนที่สามารถช่วยเหลือเด็ก ๆ ให้มีชีวิต มีการศึกษา และอนาคตที่ดี เมื่ออยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาดิฉันยิ่งชื่นชอบวิชาภาษาไทยมาก จึงเลือกเรียนโปรแกรม ศิลป-ภาษา ดิฉันชื่นชอบการเรียนวรรณคดีและวรรณกรรมปัจจุบันมาก ชอบการเรียนที่ออกมาพูดหน้าชั้นเรียน ชอบทำกิจกรรมกลุ่มที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน 1 ชอบการวิเคราะห์วิจารณ์ โดยเฉพาะการวิจารณ์วรรณกรรมปัจจุบันที่ทำให้ได้อ่านหนังสือ เรื่องสั้นและนวนิยายมากขึ้น ครูให้โอกาสนักเรียนโดยจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ทำให้ดิฉันและเพื่อนกล้าคิด กล้าแสดงออก พอจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ดิฉันจึงเลือก ศึกษาต่อในคณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาและวรรณคดีไทย ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก ช่วงที่เรียนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ดิฉันศรัทธาในตัวอาจารย์หลายท่าน อาจารย์บางท่านสามารถสอนเรื่องยาก  ให้เป็นเรื่องง่าย บางท่านสามารถสอนเรื่องเครียดให้เป็นเรื่องสนุกสนาน บางท่านยังมองเห็นพวกเราเป็นเสมือน
ลูกหลานของท่านด้วยการคอยถามไถ่ คอยห่วงใยลูกศิษย์บางคนที่ได้คะแนนน้อย หรือขาดเรียนบ่อย บางท่าน
ถึงกับหาเวลาว่างมาสอนเสริมให้กับลูกศิษย์ ภาพอาจารย์แต่ละท่านจึงยังคงเป็นภาพแห่งความประทับใจที่ติดตาตรึงใจดิฉันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ด้วยความที่ ชอบภาษาไทยจึงรักที่ จะเรียนภาษาไทยกับอาจารย์แต่ละท่าน
อย่างสนุกสนานพร้อมกับทำกิจกรรมต่าง ๆ ควบคู่กันไป ไม่ว่าจะเป็นชมรมอาสาพัฒนา สภานักเรียนและประธานหอพักหญิง การออกค่ายอาสาพัฒนาเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตการเรียนขณะอยู่มหาวิทยาลัยของดิฉัน
ผลจากการที่ดิฉันไปออกค่ายอาสาพัฒนาเป็นประจำ ทำให้ได้พบกับเด็กหลากหลายโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียน
ที่มีเด็กขาวเขาเผ่าต่าง ๆ เช่น เผ่าชาวม้ง พวกเขาน่าสงสารมาก เนื้อตัวมอมแมม สวมชุดนักเรียนเก่าที่มีคนบริจาค
ให้เดินเท้าเปลือยเปล่ามาโรงเรียน และสภาพโรงเรียนในตอนนั้นมีเพียงหลังคา ฝาข้าง โต๊ะและเก้าอี้ยาวที่ทำจาก
ขอนไม้เป็นที่นั่งเรียน แถวละ 8-10 คน ตอนที่ดิฉันและชาวค่ายอาสาพัฒนาไปจัดค่ายส่วนใหญ่จะไปสร้างห้องน้ำ ห้องสมุด ห้องเรียน เพื่อให้พวกเด็ก 1 ได้มีที่เรียนที่เป็นสัดส่วน อีกทั้งมีการแบ่งหน้าที่กันในแต่ละวัน เช่น บางคน
มีหน้าที่สอนหนังสือ บางคนทำก่อสร้าง ทำอาหาร และทำความสะอาดค่าย ดิฉันดีใจมากที่ได้มีโอกาสสอนหนังสือ
เด็ก ๆ ในการออกค่ายแต่ละค่าย เด็กเหล่านั้นเป็นเด็กที่น่ารักมาก ใส ชื่อ สมกับธรรมชาติที่สวยงามตามที่พวกเขาอยู่ จึงไม่แปลกเลยที่จะมีคนเปรียบเด็กเหมือนกับผ้าขาว ซึ่งเราจะแต่งแต้ม วาด หรือเทสีอะไร ผ้าก็จะเปลี่ยนสีไปตามที่เราต้องการ พวกเขาจะเติบโตเป็นเยาวชนที่ดีหรือไม่ก็อยู่ที่ผู้ที่ทำหน้าที่คำว่า "ครู" ให้แก่พวกเขาบางโรงเรียนที่ดิฉันไป เด็กหลายคนไม่มีโอกาสได้ศึกษาต่อ เพราะบ้านไกลจากในตัวจังหวัดมาก การคมนาคม
ลำบาก ฐานะความเป็นอยู่ แร้นแค้น โคยเฉพาะครอบครัวของชาวม้งที่ปลูกฟักปลูกพืชหลัก ซึ่งมีราคาถูกจึงทำให้
ชีวิตของเด็กต้องหยุดเรียนเมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การไปเข้าค่ายอาสาพัฒนาในระยะเวลา 3 ปีครึ่งตอนเรียน
ที่มหาวิทยาลัยนั้น เป็นช่วงที่จุดประกายความฝัน ทำให้ดิฉันอยากเป็นครูมากขึ้น การได้สอนเด็กที่ใส ซื่อ เชื่อฟัง
คำสอน ประพฤติตนเรียบร้อย มีสัมมาคารวะ ชวนครูไปเที่ยวที่บ้านเพื่อแนะนำครูกับครอบครัว เมื่อไปเห็นสภาพบ้าน สิ่งหนึ่งที่ถูกคิดขึ้นมา คือ หากลูกของพวกเขามีการศึกษาที่ดี ต่อไปคงทำให้ครอบครัวของเขามีฐานะมีความเป็นอยู่ที่ดีกว่านี้แน่นอน ในตอนนั้นดิฉันต้องขอขอบคุณในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่มีโครงการปลูกพืชทดแทน
เพราะชาวเขาเพิ่งเลิกจากการปลูกฝิ่น มีหน่วยงานต่าง ๆ ไปให้ความรู้และดูแลเรื่องการทำเกษตรแก่พวกชาวเขาอย่างต่อเนื่อง ดิฉันชื่นชอบแปลงผักสวนครัว ชื่นชอบแปลงเกษตรที่ปลูกผัก และเสาวรสของพวกเขา ดีใจที่ได้มี
โอกาสรับประทานผลผลิตที่ปลอดสารพิษอย่างแท้จริง และแน่นอนหากลูกหลานของพวกเขามีการศึกษาที่สูงขึ้น
ย่อมต้องนำความรู้เหล่านั้นกลับมาพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรให้ดีขึ้นอย่างแน่นอน
      เมื่อดิฉันสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ตอนนั้นยังไม่มีการเปิดสอบบรรจุครู ดิฉันจึงไปทำงานธุรการที่โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง เป็นโรงเรียนที่เปิดสอนเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์ เป็นโรงเรียนที่เรียน 1 ปี
ก็สามารถจบระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 นั่นคือ มีการเรียนทางไปรษณีย์
ในวันจันทร์ถึงศุกร์แล้วมาเรียนกับทางโรงเรียนในวันเสาร์-อาทิตย์ ตอนแรกดิฉันทำงานธุรการ โดยมีหน้าที่รับลงทะเบียนนักศึกษาที่สมัครเรียนทั้งทางไปรษณีย์และมาสมัครด้วยตนเอง ต่อมาเมื่อที่โรงเรียนขาดครูภาษาไทย
ดิฉันจึงได้ทำหน้าที่ครูสอนภาษาไทยให้กับนักศึกษา ณ โรงเรียนแห่งนี้ด้วย นักศึกษาบางคนไม่มีความรู้พื้นฐาน
ตั้งแต่การเขียนพยัญชนะ การสะกดคำ ในขณะที่เขาอายุมากกว่า 20 ปี ดิฉันต้องสอนตั้งแต่เริ่มการเขียนตัวอักษรสอนพื้นฐานของการสร้างคำไทย จัดทำแบบฝึกเพื่อให้พวกเขาได้เอากลับไปทำที่บ้าน เพราะระยะเวลามีจำกัด
หวกเขาตั้งใจเรียนกันมาก เหตุผลหนึ่งที่จำได้คือ พวกเขาบอกว่าตอนเด็กไม่มีโอกาสได้เรียนเพราะที่บ้านยากจนต้องมาทำงานส่งเงินให้ทางบ้าน ตอนนี้พอจะมีเงินเก็บสะสมอยู่บ้างจึงสามารถมาเรียนได้ จึงไม่แปลกที่โรงเรียนแห่งนี้จะมีนักศึกษาสนใจมาสมัครเรียนมากมาย ทำให้ดิฉันเห็นชัดคนที่ไม่มีโอกาสได้ศึกษาในประเทศไทยมีเยอะมาก
ไม่ว่าจะเป็นในชนบทหรือในเมือง แต่พวกเขาก็ยังรักที่จะเรียน พยายามเจียดเงิน เจียดเวลามาเรียน และนี่คืออีกสาเหตุหนึ่งของการอยากเป็นครูของดิฉัน ดังนั้นเมื่อมีการประกาศรับสมัครสอบครูของกรมสามัญศึกษา ดิฉัน
จึงมาสมัครสอบ ระหว่างรอเรียกบรรจุก็ยังสอนและทำงานธุรการที่โรงเขียนแห่งนั้นจนประมาณ 2 ปีจึงมีการเรียกบรรจุที่โรงเรียนสตรีระนอง จังหวัดระนอง ตอนมาบรรจุช่วงแรกได้สอนระดับชั้นมัยมศึกษาปีที่ 1 หน้าที่ของความเป็นครูตามที่ใฝ่ฝัน  ก่อนสอนได้เตรียมออกแบบการสอนที่พยายามเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดหาสื่อ ที่น่าสนใจมาประกอบการสอน ทำหน้าที่เป็นครูที่ปรึกษา จำได้ว่าตอนนั้นนักเรียนมีปัญหาเยอะมาก โดยเฉพาะการไม่มาโรงเรียน ต้องไปตามนักเรียนจากร้านเกมส์กลับมาเรียน ต้องประสานกับผู้ปกครองเกือบทุกวัน แต่ก็ยังทำงาน
ด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจและสิ่งที่เคยชินคือ การทำกิจกรรมต่าง ๆ ดังนั้น นอกจากการจัดการเรียนการสอนแล้ว ดิฉันจึงรักที่จะช่วยงานกิจกรรมต่าง ๆของโรงเรียน และพยายามส่งเสริมให้โรงเรียนมีชื่อเสียง รวมถึงการส่งเสริม
ความสามารถของผู้เรียน เช่น พยายามส่งเสริมเด็กเข้าร่วมการประกวดในเวทีต่าง 1 ซึ่งเมื่อนักเรียนได้รับรางวัลมาก็จะช่วยให้เขามีทุนการศึกษา มีประสบการณ์และทำชื่อเสียงให้แก่โรงเรียน
จากการเป็นครูมาเป็นระยะเวลาเกือบ 30 ปี พบปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ มากมาย สมหวัง ผิดหวัง
ในหลายครั้ง แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนสำหรับความเป็นครูของดิฉันคือความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะพัฒนาความรู้และคุณธรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันและการศึกษาต่อ การเปลี่ยนแปลงชีวิตของศิษย์ด้วยการ
ช่วยเหลือหาทุนและให้ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ แก้ไขปัญหาการขาดเรียน การหนีเรียน เพื่อให้พวกเขาได้จบการศึกษา มีงาน มีอาชีพที่ดีทำ นอกจากการพัฒนาความรู้ พัฒนาคุณภาพแล้ว คุณธรรมก็เป็นเรื่องที่สำคัญที่ดิฉันมองข้ามไปไม่ใด้ ซึ่งคุณธรรมพื้นฐานที่ครูควรปลูกฝังให้ผู้เรียน คือ ชื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัย
สุภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจ มีความกตัญญู ดิฉันคิดว่าคุณธรรมเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้หากนำหลักความพอเพียงมา
ใช้เพราะตอนเด็ก คุณพ่อคุณแม่ของดิฉันปลูกฝังหลักความพอเพียงให้กับลูก 1 เสมอมา ไม่ว่าจะเป็นการใช้ของอย่างประหยัด การทำบัญชีรายรับรายจ่าย การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ไว้ขายและรับประทานและการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ท่านไม่เคยสอนให้ไปกู้หนี้ยืมสินใครเพื่อนำมาซื้อของที่อยากได้ใคร่มี ท่านสอนให้รู้จักสะสมทรัพย์ เมื่อมี
ทรัพย์พอจึงจะนำมาลงทุนหรือซื้อสิ่งที่จำเป็นครอบครัวของดิฉันจึงเป็นครอบครัวพอเพียงอย่างแท้จริง ครอบครัว
ที่ลูกๆ ภาคภูมิใจ
ขอบคุณ: ข้อมูลจาก สนง.ศึกษาธิการจังหวัดระนอง
สนับสนุนโดย
รายงานข่าว

ข่าวยอดนิยม สังคมสนใจ

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์

ข่าวภูมิภาค เชิญเที่ยว ช๊อป ชิม ริมบึงสามพัน(ถนนคนเดิน) ...