28 พฤศจิกายน 2564

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์

ข่าว / แพร่
กลุ่มเยาวชนหนุ่มสาวบ้านสองแควล่าง   สนใจฟื้นฟูพื้นที่ภัยพิบัติเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน
ซากปะหลัก หักพัง ของพระอุโบสถวัดสองแควล่าง  ในพื้นที่ภัยพิบัติน้ำป่าที่หมู่ 7 บ้านสองแคว ตำบลป่าสัก  อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ จากเหตุการณ์น้ำป่าเข้าทำลายเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2544 ศพจากหลายหมู่บ้านกว่า 40 ศพ และซากวัวควาย ไหลมากองอยู่ริมลำห้วยสรอย ชายทุ่งนาเหนือวัดแห่งนี้ เป็นเหตุการณ์ที่น่ากลัวที่สุดในประวัติการเกิดภัยพิบัติของจังหวัดแพร่ 
พื้นที่เหล่านี้เดิมเป็นชุมชน และร่องรอยทางประวัติศาสตร์การเดินทัพของเจ้าหมื่นด้งนคร  โอรสเจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่เพื่อเดินทัพเข้าตีอาณาจักรสุโขทัย  เป็นที่พักทัพแหล่งประวัติศาสตร์ที่ยังมีร่องรอยอยู่  หลังเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่ ทำให้ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติ มีนโยบายอพยพหมู่บ้านและวัดไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัย  ทำให้ชุมชนเก่าแห่งนี้  กลายเป็นสถานที่ถูกทิ้งร้างในพื้นที่ของชาวบ้านได้เปลี่ยนจากที่อยู่อาศัยมาเป็นพื้นที่เกษตรกรรมริมลำห้วยแม่สรอยแทน
นางสาวฐานวีร์  อุตะมะ  อายุ 31 ปี อยู่บ้านเลขที่ 23/1 หมู่ 7 ตำบลป่าสัก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่  กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ในหมู่บ้าน  กล่าวว่า พื้นที่ภัยพิบัติพร้อมกับวัดสองแควล่างที่กลายเป็นวัดร้างเป็นสถานที่ชุมชนที่ถูกละทิ้ง  ความจริงแล้วพื้นที่เหล่านี้มีความสำคัญมากสำหรับประวัติศาสตร์ชุมชน รวมทั้งประวัติภัยพิบัติน้ำป่าครั้งใหญ่ของจังหวัดแพร่  กลุ่มคนรุ่นใหม่จึงคิดที่จะมีการฟื้นฟูบริเวณนี้ให้กลายเป็นพื้นที่เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน  เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจเพราะร่มเย็นติดกับลำห้วยสรอยที่มีน้ำไหลตลอดปี  เป็นแหล่งปลูกพืชแบบอินทรีย์ และความสงบเงียบที่เหมาะกับกิจกรรมทางศาสนาในบริเวณวัดเก่าแห่งนี้ นอกจากนั้นยังมีชาวบ้านที่เผชิญกับเหตุการณ์สามารถเล่าถึงพิษภัยของภัยพิบัติ ยังมีชีวิตอยู่
นายจอม  วังเมา  อายุ 66 ปี เกษตรกรในบริเวณดังกล่าว มองว่าหน่วยราชการยังไม่ให้ความสำคัญจึงของวิงวอนไปยังนักการเมืองที่กำลังหาเสียงอยู่ในขณะนี้ เมื่อใครชนะเลือกตั้งเข้าไปบริหารน่าจะกลับมาฟังเสียงประชาชนและให้การพัฒนาบริเวณวัดร้างแห่งนี้ เป็นพื้นที่เรียนรู้อย่างน้อยก็จะกลายเป็นจุดศึกษาดูงานทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาอาจทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ก็ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  แนวคิดของคนรุ่นใหม่ที่เหตุความสำคัญของร่องรอยประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของชุมชน แนวคิดของกลุ่มเยาวชนดังกล่าวยังไม่มีเสียงตอบรับจากผู้นำหมู่บ้านและทางราชการมากนัก เยาวชนจึงมีแนวคิดร่วมกันฟื้นฟูด้วยพลังของตนเอง ซึ่งการแพร่กระจายความคิดผ่านสื่อสาธารณะน่าจะทำให้ฝันของพวกเขาเป็นจริง
/ภาพ/ข่าว
ราเชนทร์ โชติถนอมกิจ
หัวหน้าผู้สื่อข่าว/แพร่
สนับสนุนโดย
รายงานข่าว

ข่าวยอดนิยม สังคมสนใจ

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์

ข่าวภูมิภาค เชิญเที่ยว ช๊อป ชิม ริมบึงสามพัน(ถนนคนเดิน) ...