วันที่ 20 พฤษภาคม 2564
คณะทำงานสำนักเลขายุทธศาสตร์พรรคประชาธิปไตยใหม่ ประกอบด้วย
>อ.วิชิต ดิษฐประสพ เลขายุทธศาสตร์พรรคประชาธิปไตยใหม่
>อ.ทีปพรรธน์ สิงห์ที กรรมการบริหารพรรค
>ว่าที่ ร.ท.ทนงขิต บุญทน ผู้ติดตาม สส.สุรทิน พิจารณ์ และว่าที่ผู้สมัคร สส.เขต 9 จังหวัดขอนแก่น
> นายสมชาย แย้มเกษร Staff ประจำสำนักเลขายุทธศาสตร์พรรคประชาธิปไตยใหม่
ได้จัดเตรียมสถานที่ให้ท่าน สส.สุรทิน พิจารณ์ สส.บัญชีรายชื่อหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่แลถงข่าว เรื่องการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 วงเงิน 3.1 ล้านล้านบาท
>เตรียมแถลงข่าว วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม 2564
ณ สำนักงานใหญ่พรรคประชาธิปไตยใหม่ ถนนวิภาวดี-รังสิต กรุงเทพมหานครและมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารประชาธิปไตยใหม่นำไปศึกษาการจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565
..................
......รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560
*มาตรา 141 งบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินให้ทำเป็นพระราชบัญญัติถ้าพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่ให้ใช้กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณปีก่อนนั้นไปพลางก่อน
รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระของรัฐสภา ศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอัยการ ทั้ง
นี้ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ ในกรณีที่เห็นว่างบประมาณที่ได้รับจัดสรรอาจไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ รัฐสภา ศาล องค์กรอิสระ หรือองค์กรอัยการ จะยื่นคำขอแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการโดยตรงก็ได้
*มาตรา 142 ในการเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณต้องแสดงแหล่งที่มาและประมาณการรายได้ผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการรายจ่ายและความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาต่างๆทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ
*มาตรา 143 ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมและร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย สภาผู้แทนราษฎรจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อบห้าวันนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาถึงสภาผู้แทนราษฎร
ถ้าสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งให้ถือว่าสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัตินั้นและให้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณา
ในการพิจารณาของวุฒิสภาวุฒิสภาจะต้องให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัตินั้นมาถึงวุฒิสภาโดยจะแก้ไขเพิ่มเติมใดๆมิได้ถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าวุฒิสภาเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัตินั้นในกรณีเช่นนี้และในกรณีที่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา 81
ถ้าวุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้นำความมาตรา 138 วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลมโดยให้สภาผู้แทนราษฎรยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที
ระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง และวรรคสามมิให้นับรวมและเวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตามมาตรา 144 วรรคสาม
....รวบรวมโดย อ.วิชิต ดิษฐประสพ
เลขายุทธศาสตร์พรรคประชาธิปไตยใหม่
มือถือ ID line 090 917 3259
20 พฤษภาคม 2564
.....................