ประเทศไทย-การเรียนออนไลน์ในยุคโควิดทำให้การศึกษาขาดตกบกพร่อง
ปัญหาเหล่านี้ยังคงมีอยู่แม้ในตอนนี้ คำถามที่ใหญ่กว่านั้นกลายเป็นเรื่องใหญ่: แม้กระทั่งก่อนเกิดโควิด การเรียนรู้ออนไลน์ถือเป็นโอกาสสำหรับนักเรียนทุกคนที่สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้และข้อมูล
เหตุใดแพลตฟอร์มที่ขนานนามว่าเป็นอนาคตของการศึกษาสำหรับทุกคนจึงกลายเป็นประสบการณ์ที่ไม่น่าพอใจสำหรับหลาย ๆ คน
สา-นักศึกษามหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ บอกว่า “รู้สึกว่าตารางชีวิตอ่ะค่ะมันแบบว่ารวนไปหมดเลย คือปกติตอนที่เราอยู่มัธยมใช่มั้ยคะ ที่ยังไม่มีโควิดเนี่ย เราก็จะตื่นเช้ามาแล้วก็รีบอาบน้ำแปรงฟันค่ะแล้วก็จะรีบไปโรงเรียนอย่างงี้ แต่พอมาเรียนออนไลน์เนี่ย เราตื่นขึ้นมาแล้วก็แค่แบบว่าเตรียมตัวนิดหน่อยแล้วก็เปิดไอแพดเปิดคอมของเราแล้วก็สามารถเรียนได้เลย รู้สึกว่าตารางเวลาของเรา เนี่ยมันรวนมากเกินไปค่ะ เราจัดการชีวิตไม่ค่อยถูกเลยค่ะ รู้สึกว่าร่างกายของเรารู้สึกแย่ลงค่ะ เพราะว่าเรามีแต่เรียนเสร็จแล้วก็นั่งอยู่เฉยๆ เราไม่ได้ออกไปเดินเล่นไม่ได้มีอะไรไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างค่ะ สุขภาพจิตเราก็รู้สึกว่ามันแย่ลงเหมือนกันค่ะ เพราะว่าเราไม่ได้เจอเพื่อนเลย ไม่ได้คุยกับใคร เราอยู่แต่ในห้องของเราค่ะ เรารู้สึกว่ามันแบบมันแย่ไปหมดเลยค่ะ อยากจะเสนอแนะตรงที่ทำให้มันบาลานซ์กันค่ะ ทำให้มันเป็นผสมเป็นแบบเบรนไปด้วยกัน คือบางวิชาก็สามารถไปเรียนที่มหาลัย หรือว่าบางวิชาที่เป็นเลคเชอร์ที่เป็นเรียนเนื้อหาปกติก็สามารถเรียนออนไลน์ได้ค่ะ ให้มันผสมๆกันไปค่ะ”
อาจารย์ นริสา บอกว่า “ถ้าสำหรับตัวครูนะคะ ครูมองว่าการเรียนออนไลน์ในรูปแบบปัจจุบันในสถานการณ์โควิด ครูมองว่าสำหรับตัวครูอ่ะคะ หนึ่งข้อดีของครูนะคะ ทำให้ครูมีเวลาในการจัดเตรียมการเรียนการสอนมากขึ้น เพราะว่าหนึ่งลดภาระการเดินทาง ครูได้มีเวลาเตรียมเนื้อหาในการสอนปรับเปลี่ยนรูปแบบในการสอนนะคะ แล้วก็ทำให้ครูได้สื่อสารกับนักเรียนมากขึ้น แต่ปัญหาค่ะ เนื่องจากว่าเครื่องมือสื่อสารไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ แท็บเล็ต ไอแพดต่างๆแต่ละคนสัญญานโทรศัพท์ที่มันแตกต่างกันอ่ะค่ะ ทำให้การเรียนเนี้ย มันอาจจะไม่เสถียร เพราะว่าบางคนใช้อินเตอร์เน็ตฟรี บางคนใช้อินเตอร์เน็ตเสียเงิน เวลาที่ครูสอนออนไลน์บางคนกว่าเด็กๆจะเข้าที่ค่ะ มันอาจจะกินเวลาในการเรียน เพราะว่าเราเจอกันสัปดาห์ละ1ครั้งเท่านั้น บางคนก็จะแบบเน็ตหมดแล้ว เน็ตยังแรงอยู่ยังเงี้ย แล้วก็เด็กๆอ่ะค่ะปัจจุบันเค้าก็จะใช้เครื่องมือสื่อสารมากๆๆๆมากกว่าปกติ เพราะว่าส่วนใหญ่แล้วเค้าเป็นเด็กโต ก็ทำให้การใช้เครื่องมือสื่อสารช่วงออนไลน์ของเค้ามันอาจจะเพิ่มมากขึ้น”
โบว์ & แป้ง-นักศึกษา บอกว่า “ก็ในส่วนนี้นะคะ คิดว่าการไม่ได้ออกไปเจอผู้คนอ่ะคะ เพราะว่าการไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นอ่ะค่ะ เมื่อก่อนเราอาจจะออกไปเจอกับเพื่อนได้พูดคุยกับเพื่อน แต่เดี๋ยวนี้เราอยู่ในห้องสี่เหลี่ยม พูดกับเพื่อนผ่านหน้าจอคอม มันทำให้การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนลดน้อยลงค่ะ
ก็สำหรับหนูนะคะ คือปฏิสัมพันธ์ด้วย ละก็การเจอสังคม การแบบได้อยู่แต่ที่เดิมๆ อาจทำให้เกิดการหมดแพชชั่นหมดไฟในการเรียนไปได้เลยค่ะ
ในส่วนนี้คิดว่า ถ้าในสถานการณ์แบบนี้ก็อยากให้มีทั้งออนไลน์ทั้งออนไซต์อ่ะค่ะ แบบถ้าเกิดมันเป็นออนไลน์หมดเลยมันส่งผลเสียต่อเราค่ะ ทั้งแบบทางด้านครอบครัว ด้านร่างกายของเราเองอะไรอย่างเนี้ยค่ะ อยากให้มีว็อคอินเข้าไปในโรงเรียนบ้าง”
ที่มา A24 News Agency