07 กรกฎาคม 2565

กรมประมงโชว์ผลสำเร็จ ร่วมสังเกตการณ์การทำประมง...หลังสิ้นสุดมาตรการปิดอ่าวฝั่งทะเลอันดามัน

วันที่ 6 - 7 กรกฎาคม 2565 กรมประมง นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่จังหวัดกระบี่ เพื่อร่วมสังเกตการณ์การทำประมง หลังสิ้นสุดระยะเวลาของการประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนฝั่งทะเลอันดามัน ประจำปี 2565 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 เผยจากผลสำรวจช่วงระหว่าง การประกาศใช้มาตรการฯ ในปีที่ผ่านมา พบสัตว์น้ำเศรษฐกิจหลายชนิดมีความสมบูรณ์เพศสูง และมีความชุกชุมของลูกปลาวัยอ่อนในบริเวณพื้นที่ปิดอ่าวๆ และในปี 65 มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นของทรัพยากรสัตว์น้ำ


นายแสน ศรีงาม ผู้ตรวจราชการกรมประมง กล่าวว่า กรมประมงให้ความสำคัญในเรื่องของการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดวบคู่ไปกับการประกอบอาชีพประมงที่มั่นคง และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของพี่น้องชาวประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการบริทารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีใช่วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน หรือ ที่เรียกว่า "มาตรการปิดอ่าว" ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญของกรมประมง ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยมีการปรับปรุงมาตรการเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะของทรัพยากรสัตว์น้ำ สิ่งแวดล้อม และสังคมมาอย่างต่อเนื่อง เพื่ออนุรักษ์พ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำ พร้อมสืบพันธุ์วางไข่ มีไข่ รวมทั้งอนุรักษ์สัตว์น้ำวัยอ่อนให้เจริญเติบโตเป็นสัตว์ น้ำรุ่นใหม่ให้ชาวประมงได้จับมาไช้ประโยชน์ โดยปัจจุบันมีพื้นที่ปิดอ่าว จำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่ (1) ปิดอ่าวไทยตอนกลาง : ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ในระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 15 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นระยะเวลา 90 วัน 





ต่อด้วยเขตชายฝั่งทะเลตามแผนที่แนบท้ายของประกาศปิดอ่าวไทยตอนกลาง ในระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม - 14 มิถุนายน ของทุกปี เป็นระยะเวลา 30 วัน (2) พื้นที่เขตต่อเนื่อง : ปลายแหลมเขาม่องไล่ ถึงอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม - 14 มิถุนายน ของทุกปี เป็นระยะเวลา 30 วัน (3) พื้นที่อ่าวไทยตอนใน (อ่าวไทยรูปตัว ก) แบ่งเป็น 2 พื้นที่ คือ อ่าวไทยตอนในด้านตะวันตก : จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี จนถึงอำเภอหัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ ในระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน - 15 สิงหาคม ของทุกปี และอ่าวไทยตอนในตำนเหนือ : จังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ในระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม - 30 กันยายน ของทุกปี (4 พื้นที่ฝั่งทะเลอันคามัน : จังหวัดกระบี่ และตรัง ในระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 30 มิถุนายน ของทุกปี


การนำคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่ร่วมสังเกตการณ์ในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้สื่อมวลชนได้เห็น
เรืออวนล้อมจับ (อวนดำ) การใช้เรือปั่นไฟล่อสัตว์น้ำเพื่อให้เข้ามาติดอวนประมง เรืออวนลากสำคัญ คือ การร่วมสังเกตปริมาณทรัพยากรสัตว์น้ำหลังสิ้นสุดระยะการใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากร วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ฝั่งทะเลนดามัน เมื่อวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังจะได้ไปดูกระบบการเก็บข้อมูลทางวิชาการหลังสิ้นสุดมาตรการปิดอ่าวฝั่งทะเลอันดามัน ณ แพปลาท่าเทียบเรือน้ำลึกจังหวัดกระบี่ด้วยทั้งนี้ ในส่วนของผลการศึกษาทางวิชาการยืนยันว่ามาตรการปิดอ่าวฝั่งทะเลอันตามันในปี 2504 ในช่วงเวลาเดียวกัน (ระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 30 มิถุนายน) ที่ผ่านมา มีความเหมาะสมทั้งในเรื่องของพื้นที่ หวงห้าม วัน เวลา และ เครื่องมือที่ต้องห้าม







เนื่องจากมีผลการติดตามมาตรการฯ ดังนี้ ในช่วงเวลาการบังคับใช้มาครการฯ พบสัตว์น้ำนานาชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่มีความสมบูรณ์เพศสูง และพบสัตว์น้ำวัยอ่อนมีความชุกชุมและแพร่กระจายหนาแน่นสูงในพื้นที่โดยเฉพาะเดือนมิถุนายน ที่มีความหนาแน่นสัตว์น้ำสูงสุด (5,161 ตัว/1,000 ลบ.ม/) ประกอบกับจากสถิติผลจับสัตว์น้ำของเรือประมงเรือประมงพาณิชย์และพื้นบ้านทางฝั่งทะเลอันดามัน ในปี 2560 ก่อนการปรับปรุงกฎหมายปิดอ่าวฝั่งทะเลอันดามัน เมื่อปี 2561 มีปริมาณผลการจับอยู่ที่ 376,017 ตัน กระทั่งล่าสุด ในปี 2564 มีปริมาณผลการจับ 388,022 ตัน สูงกว่าปี 2560 อยู่ 12,005 ตัน โดยเฉพาะผลการจับปลาทู ซึ่งเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญ ในปี 2564 พบว่ามีปริมาณ 12,267 ตัน สูงกว่าเมื่อปี 2560 จากผลการจับเพียง 3,602 ตันเท่านั้น อีกทั้ง จากการติดตามเครื่องมือประมงพื้นบ้านที่อนุญาตให้ทำประมงในที่มาตรการฯ ได้ เช่น กุ้ง และปู พบว่ามีการจับสัตว์น้ำขึ้นมาใช้ประโยชน์ในขนาดที่เหมาะสม คือ กว่าความยาวแรกสืบพันธุ์ และในปี 2565 นี้ มีแนวโน้มที่ดีทั้งขนาดและปริมาณของสัตว์น้ำ จึงบังคับใช้กฎหมายปิดอ่าวฝั่งทะเลอันดามันมีความเหมาะสม กรมประมงมุ่งหวังให้มาตรการปิดอ่าวฝั่งทะเลอันดามัน เป็นกลไกหนึ่งในการอนุรักษ์และพื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำอาศัยความตระหนักและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำที่ คุ้มและยั่งยืน สุดท้ายกรมประมงต้องขอขอบคุณพี่น้องชาวประมงที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำเพื่อความมอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน และเกิดความมั่นคงในการประกอบอาชีพประมงต่อไป....ผู้ตรวจราชการ

กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ / 6-7 มิถุนายน 2565




ข่าวยอดนิยม สังคมสนใจ

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์

ข่าวภูมิภาค เชิญเที่ยว ช๊อป ชิม ริมบึงสามพัน(ถนนคนเดิน) ...