15 มิถุนายน 2565

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์

พลังงานกระบี่ ร่วมจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการกับหอการค้าเยอรมันไทย ครั้งที่ 2  เรื่อง "Green Hydrogen Roadshow” (พลังงานไฮโดรเจน)

วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2565 ที่ ห้องประชุมโรงแรมดุสิต ดีทู อ่าวนาง จังหวัดกระบี่ มาริอุส เมฮ์เนอร์ รองผู้อำนายการบริหาร และหัวหน้าฝ่าย Corporate Services  และนายกำพู เพชรธำมรงค์ นักวิชาการพลังงานชำนาญการพิเศษ รักษาราชการพลังงานจังหวัดกระบี่ ,นางสาวอรุณวรรณ ชลธี นักวิชาการพลังงาน ได้ร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ German-Thai Chamber of Commerce หอการค้าเยอรมันไทย  ครั้งที่ 2 เรื่อง "Green Hydrogen Roadshow”





โดยมีท่าน ดร. ศิริชัย คูณภพดีเลิศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการนำเสนอ โดยได้มุ่งเน้นที่โซลูชันไฮโดรเจนที่ผลิตในประเทศเยอรมนี ตลอดจนข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าจากผู้เชี่ยวชาญชาวไทยในภาคส่วนนี้การประชุมเชิงปฏิบัติการสนับสนุน BMUV แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เป็นไปได้ในด้านไฮโดรเจนสีเขียวในประเทศไทย ยกตัวอย่างที่เชียงใหม่ใช้พลังงานผสม กลางวันใช้โซล่าเซลล์ ช่วงกลางคืนใช้พลังงานไฮโดรเจน ที่ได้ทำการเก็บรวมรวมพลังงานไว้ใน บ้านผีเสื้อ ซึ่งคาดการได้ว่าเมืองไทยต้องการใช้พลังงานสะอาดเพิ่มมากขึ้น และอีกไม่นานนี้กำลังมีต้นแบบ รถทดลองที่ใช้ไฮโดรเจนในเมืองไทย AEM ที่มีความบริสุทธิ์สูงและใช้ได้ดีขึ้น


วันนี้สามารถชี้ชัดได้ว่า พลังงาน ‘ไฮโดรเจน’ พลังงานสะอาดแห่งอนาคต จะช่วยโลกมุ่งสู่สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์กันครับ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการสกัดไฮโดรเจนจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ก๊าซธรรมชาติ และน้ำด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ทันสมัย จากนั้นนำไฮโดรเจนที่ได้มาป้อนเข้าเซลล์เชื้อเพลิง





ไฮโดรเจนมีระดับความเข้ม 3 ระดับ จำแนกตามกระบวนการผลิต ซึ่งแต่ละประเภทจะปล่อยปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์แตกต่างกัน ดังนี้
1. Grey Hydrogen : ไฮโดรเจนสีเทา ผลิตมาจากก๊าซธรรมชาติและเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการอุตสาหกรรม ซึ่งก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยเช่นกัน
2. Blue Hydrogen : ไฮโดรเจนสีน้ำเงิน เป็นการผลิตแบบเดียวกับสีน้ำตาลและสีเทา คือผลิตมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลหรือก๊าซธรรมชาติ แต่จะมีการดักจับและจัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เอาไว้ (Carbon Capture and Storage) ทำให้ไฮโดรเจนที่ได้สะอาดกว่าไฮโดรเจนสีน้ำตาลและสีเทา
3. Green Hydrogen : ไฮโดรเจนสีเขียว เป็นการใช้ไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมุนเวียน นำมาแยกโมเลกุลน้ำ (Electrolysis of Water) ทำให้ได้สารผลิตภัณฑ์ออกมาเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจน โดยปราศจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
.
ปัจจุบันซึ่งเห็นได้ชัดว่า ไฮโดรเจนสีเขียวนั้นช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างแท้จริง ถึงแม้ในตอนนี้ ต้นทุนในการผลิตไฮโดรเจนยังค่อนข้างสูง แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันได้มองเห็นศักยภาพของไฮโดรเจนที่จะกลายเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลักดันโลกสู่สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์ กับเทคโนโลยีแยกน้ำด้วยไฟฟ้า (SOEC) เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไฟฟ้าและพลังงานสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างมั่นคงและยั่งยืน

การผลิตไฟฟ้าปราศจากมลพิษด้วยระบบเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนบนเกาะและพื้นที่ห่างไกล ผู้คนจากทั่วโลกราว 47 ล้านคน ดำ รงชีวิตโดยใช้ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับระบบไมโครกริด* (Microgrid) โดยส่วนใหญ่เป็นผู้คนจากชุมชนบนเกาะหรือในพื้นที่ห่างไกล กว่าครึ่งของระบบไมโครกริดที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันอาศัยเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยเฉพาะน้ำ มันดีเซลเป็นแหล่งพลังงงานหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า ชุมชนที่ต้องพึ่งพาน้ำ มันดีเซลในการผลิตไฟฟ้านั้นต้องรับมือกับความผันผวนของราคา การขนส่งและการสำ รอง
น้ำ มันดีเซลเพื่อใช้งาน นอกจากนี้ยังต้องเผชิญกับมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้น้ำ มันดีเซลที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนในพื้นที่ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ชุมชนเหล่านี้พยายามพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนจากธรรมชาติ เช่น พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าทดแทนการใช้น้ำ มันดีเซลซึ่งราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ แต่มักประสบข้อจำ กัดเพราะแหล่งพลังงานหมุนเวียนมักแปรผันตามสภาพอากาศในแต่ละฤดูกาล อีกทั้งแบตเตอรี่หรืออุปกรณ์กักเก็บพลังงานไว้ใช้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวยังมีต้นทุนสูง เทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนได้รับการพัฒนามาเพื่อเสริมสร้างระบบไมโครกริด ทำ ให้สามารถผลิตและสำ รองกระแสไฟฟ้าที่ได้จากแหล่ง
พลังงานหมุนเวียนไว้ใช้ในเวลาที่ต้องการโดยกักเก็บพลังงานไว้ในรูปของไฮโดรเจน กระแสไฟฟ้าทีได้มีความเสถียรสูง นอกจากนี้กระบวนการดังกล่าวจะไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นการพัฒนาเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงพลังงานไฮโดรเจนนี้จะมีส่วนสำ คัญอย่างยิ่งในการตอบสนองความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน มีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน 

*ระบบไฟฟ้าสำ หรับพื้นที่เกาะและพื้นที่ห่างไกล หรือระบบไมโครกริด (Microgrid) คือ ระบบไฟฟ้าขนาดเล็ก ที่มีการรวมระบบผลิตไฟฟ้า ส่งจ่ายไฟฟ้าและควบคุมสั่งการเข้าไว้ด้วยกัน สามารถทำ งานประสานเชื่อมกับโครงข่ายหลัก หรือโครงข่ายอื่นๆ และยังทำ งานแยกเป็นอิสระได้ ระบบไมโครกริดทำ หน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าในพื้นที่ชนบทที่ยากต่อการเข้าถึงหรือภูมิภาคที่อยู่ห่างไกลจากเครือข่ายหลัก โดยระบบไมโครกริดสามารถดำ เนินการแยกจากเครือข่ายหลักได้ เช่น ระบบออฟกริด (Off-grid) หรือสามารถเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายที่ใหญ่กว่า

ไฮโดรเจนสีเขียว ไฮโดรเจนที่นำ มาใช้ในระบบเซลล์เชื้อเพลิงนั้นสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้หลายวิธี นักวิทยาศาสตร์จำ แนกประเภทของไฮโดรเจนที่สังเคราะห์ขึ้นมาตามกรรมวิธีการผลิต ประเภทของไฮโดรเจนที่สะอาดที่สุดและเหมาะนำ มาใช้ในเซลล์พลังงานคือ “ไฮโดรเจนสีเขียว” เพราะเป็นไฮโดรเจนที่ผลิตโดยใช้น้ำ เป็นวัตถุดิบและใช้พลังงานงานสะอาดเช่นพลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานลมมาสังเคราะห์ ดังนั้นกระบวนการผลิต “ไฮโดรเจน
สีเขียว” จึงไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ และเมื่อนำ “ไฮโดรเจนสีเขียว” ที่ได้มาผลิตเซลล์เชื้อเพลิงเชื่อมต่อกับระบบ
ไมโครกริดเพื่อผลิตไฟฟ้า ระบบดังกล่าวก็ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เช่นกัน จึงถือว่ากระบวนการสร้างและผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์เชื้อเพลิง
ไฮโดนเจนสีเขียวเป็นกระบวนการที่ปลอดคาร์บอนไดออกไซด์ตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ (net-zero carbon emission) เป็นวิธีการผลิตไฟฟ้าที่
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างโครงการที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในอาคารพานิชย์ ชื่อโครงการ: Radisson Blu Hotel Frankfurt, Germany (โรงแรมเรดิสัน บลู, เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี) 
บริษัทที่ปรึกษา: E.ON SE, Essen (บริษัท เอ.ออน, เมืองเอสเซ่น ประเทศเยอรมนี)
ธุรกิจโรงแรมจัดเป็นธุรกิจที่มีความสำ คัญกับเศรษฐกิจของประเทศเยอรมนี การดำ เนินธุรกิจโรงแรมต้องการใช้พลังงานไฟฟ้ามาก ในแต่ละปี
ธุรกิจโรงแรมในประเทศเยอรมนีปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศกว่า 5 ล้านตัน เพื่อรับมือกับความต้องการพลังงาน
ไฟฟ้าควบคู่กับความจำ เป็นที่ต้องลดการปล่อดปล่อยก๊าซเรือนกระจก บริษัท เอ.ออน ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านพลังงานจึงหาแนวทางแก้ไข
ปัญหาด้วยนวัตกรรมเซลล์พลังงานเชื้อเพลิงไฮโดรเจนแก่ธุรกิจโรงแรม

ในปี 2017 บริษัท เอ.ออนและโรงแรมเรดิสันบลูร่วมกันพัฒนาโครงการร่วมกันเพื่อใช้งานเชิงพานิชย์เป็นผลสำ เร็จ โครงการดังกล่าวคือการ
ติดตั้งระบบเซลล์พลังงานไฮโดรเจนในโรงแรมเรดิสัน บลู เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ซึ่งเป็นโรงแรมขนาดใหญ่ มีห้องพักกว่า 400 ห้อง ระบบดังกล่าวสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้า 3 GWh และพลังงานความร้อน 2 GWh เพื่อใช้ในกิจกรรมของโรงแรม ด้วยการผลิตพลังงานสะอาดใช้เอง โรงแรมเรดิสัน บลู เมืองแฟรงก์เฟิร์ตสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 600 ตันต่อปี







ชื่อโครงการ: บ้านผีเสื้อ จ.เชียงใหม่ ประเทศไทย
บริษัทที่ปรึกษา: Enapter AG, Berlin (บริษัทเอนแนปเตอร์, กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี)
โครงการบ้านผีเสื้อ ในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย เป็นอาคารบ้านพักอาศัยแห่งแรกของโลกที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ควบคู่กับระบบกักเก็บพลังงานไฮโดรเจนที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัทเอนแนปเตอร์ โดยพลังงานแสงอาทิตย์จะถูกแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar cell หรือ Photovoltaic cell) เพื่อใช้งาน พลังงานส่วนที่เหลือจะถูกส่งไปยังเครื่องอิเล็กโทรไลเซอร์ที่ทำ หน้าที่เปลี่ยนพลังงานที่ไม่จำ เป็นหรือพลังงาน
ส่วนเกินเก็บไว้ในรูปไฮโดรเจน ไฮโดรเจนจะถูกเก็บไว้ในถังและเมื่อไม่มีแสงอาทิตย์ ไฮโดรเจนที่เก็บไว้จะถูกส่งเข้ามายังเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อเปลี่ยน
กลับมาเป็นกระแสไฟฟ้า ถือได้ว่าเป็นจุดเด่นของบ้านผีเสื้อที่ไม่ต้องพึ่งพาการเก็บพลังงานในแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียว กำ ลังการผลิตไฟฟ้าใน
บ้านผีเสื้ออยู่ที่ประมาณ 384.2 kWh/day และสามารถสดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 96.75 ตันต่อปี




โครงการบ้านผีเสื้อ ได้รับการยกเป็นโครงการต้นแบบ “Global Hydrogen Valley Mission Innovation” โดยสหภาพยุโรป ปัจจุบัน พื้นที่ใน
โครงการเปิดให้สาธารณะเข้าชม เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องพลังงานทดแทน การจัดการน้ำ การพัฒนาอย่างยั่งยืน และเปิดพื้นที่สำ หรับทำ
กิจกรรมและจัดนิทรรศการศิลปะจากศิลปินท้องถิ่นอีกด้วย



ข่าวยอดนิยม สังคมสนใจ

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์

ข่าวภูมิภาค เชิญเที่ยว ช๊อป ชิม ริมบึงสามพัน(ถนนคนเดิน) ...