หนังสือพิมตาทันนิวส์

05 กรกฎาคม 2564

สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย

ความเห็นของที่ปรึกษา  สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย

1.นายอุบล เทวฤทธิ์

      แนวทางในการเพิ่มผลผลิตยางต่อไร่ จะนำไปสู่การลดต้นทุนการผลิตในการทำสวนยาง ซึ่งจะทำให้ชาวสวนยางมีความมั่นคงในอาชีพการทำสวนยาง




      ผมขอนำเรียน ดังนี้

1. เมื่อเริ่มเข้าสู่ขบวนการปลูกยาง

ขอให้ยึดปฏิบัติตามคำแนะนำทางวิชาการของการยางแห่งประเทศไทย ซึ่งหลักๆ คือ 

     1.1 พันธุ์ยาง ซึ่งจะต้องเป็นพันธุ์ที่ได้รับการรับรอง จากการยางแห่งประเทศไทย และจะต้องปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ผลผลิตสูง

    1.2 ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยตาม ผลวิเคราะห์ของดิน คือใส่ปุ๋ยเฉพาะธาตุอาหารที่ขาดเท่านั้น ที่เรียกกันว่าปุ๋ยสั่งตัด จะทำให้ประหยัดค่าปุ๋ยไปได้มาก


2. เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิต

     มีคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตยางต่อไร่ มีชาวสวนยางหลายรายพยายามหาวิธีการที่จะทำให้เพิ่มผลผลิตต่อไร่ เพื่อเพิ่มรายได้จากการขายผลผลิตยาง โดยพบว่ามีเทคโนโลยีการใช้ฮอร์โมนเอทธิลีนผ่านทางท่อน้ำยางไปกระตุ้นให้ท่อน้ำยางเปิดนานขึ้น น้ำยางก็จะไหลนาน ผลผลิตน้ำยางจะเพิ่มกว่าที่เคยได้รับประมาณ 2-3 เท่า ซึ่งเร็วๆนี้ มีชาวสวนยางทางภาคใต้ไปสร้างสวนยางที่จังหวัดเลย และเมื่อต้นยางมีอายุเกินกว่า 15 ปีแล้ว ก็ใช้ฮอร์โมน เอทธิลีน กับต้นยางผลที่ได้เป็นจริง คือน้ำยางเพิ่ม 2 เท่าขึ้นไป ซึ่งมีการถ่ายทำเป็นสคริปต์เผยแพร่ทั่วไป ทางเจ้าหน้าที่ของการยางแห่งประเทศไทยก็ได้ไปติดตามเรื่องนี้มาแล้ว(ดูใน Script )

          ผมขอเรียนว่า เทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตน้ำยางที่กล่าวถึงข้างต้น อยู่ในเอกสารคำแนะนำของสถาบันวิจัยยางอยู่แล้ว ซึ่งในคำแนะนำ ได้กล่าวถึงวิธีการนำเทคโนโลยีมาใช้กับต้นยาชนิดใด อายุเท่าไร กรีดยางแบบใด ลักษณะของต้นยางที่ใช้ ใช้ได้หรือใช้ไม่ได้ และใช้อย่างไร เป็นต้น ฉะนั้น จึงต้องพึงระวังข้อจำกัดด้วย มิฉะนั้น จะเกิดผลเสียหายกับต้นยาง

        โดยสรุปว่า ในยามที่ราคายางผันผวนอันเนื่องด้วยภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้  เราชาวสวนยางก็คงต้องช่วยตัวเองในระดับหนึ่ง หวังว่าการนำเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตยางดังกล่าวข้างต้น จะช่วยทำให้ชาวสวนยางมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เท่า าและต้นยางที่มีความสมบูรณ์ หน้ากรีดไม่เสียหาย จะสามารถกรีดต่อไปได้จนถึงต้นยางอายุได้ถึง 40 ถึง 50 ปี กรณีที่การยางแห่งประเทศไทยมีโครงการให้ยืมเงินเพื่อซื้ออุปกรณ์เพิ่มผลผลิตนั้น ก็ขอให้ ยึดหลักปฏิบัติตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยางอย่างเคร่งครัด

        เนื่องจากขณะนี้ สถาบันวิจัยยางได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการยางแห่งประเทศไทยแล้ว ขอให้สถาบันวิจัยยางดูแลและติดตามผล การที่ชาวสวนยางได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง  จากอดีตถึงปัจจุบันมากน้อยแค่ไหน มีผลอย่างไร

2.นางสาวผ่องเพ็ญ สัมมาพันธ์    






            ขอให้ความเห็นต่อเนื่อง เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตน้ำยาง ด้วยฮอร์โมนเอทธิลีน ดังนี้ 

1. ขณะนี้มีชาวสวนยางนำเทคโนโลยีนี้มาใช้กับต้นยางโดยคำแนะนำการใช้ของผู้ขาย ซึ่งควรเป็นคำแนะนำการใช้ของทางราชการ โดยสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย ปรากฏว่าคำแนะนำนี้ไม่แพร่หลาย ชาวสวนยางส่วนใหญ่ไม่เคยได้เห็นเอกสารฉบับนี้ การที่ชาวสวนยาง ไม่มีคำแนะนำของทางราชการ จึงไม่ได้ศึกษาข้อเสียอย่างถ่องแท้ ทำให้ถูกเพ่งเล็ง จากคนบางกลุ่มว่า เทคโนโลยีนี้ไม่ได้ผล จึงเป็นการเสียโอกาสของชาวสวนยาง

2. คำแนะนำ คือ คำแนะนำ  มิได้เป็นกฎเกณฑ์ให้ถือปฏิบัติ ทางการยางแห่งประเทศไทยควรขยายความ “คำแนะนำ” ไปสู่การปฏิบัติโดยความสมัครใจของชาวสวนยาง โดยเฉพาะเมื่อการยางแห่งประเทศไทย มีโครงการให้ยืมเงินในการซื้ออุปกรณ์เพิ่มผลผลิต ก็ควรจะมีกฎเกณฑ์ให้ถือปฏิบัติอย่างเป็นทางการ และมีการติดตามเพื่อประเมินผลที่ได้รับด้วย

3. ในขณะที่ทางการยางแห่งประเทศไทยอนุญาตให้เจ้าของสวนยางโค่นต้นยางก่อนได้รับอนุมัติ อันเนื่องมาจาก คำขอรับการสงเคราะห์เกินจำนวนเป้าหมายที่กำหนด น่าจะเป็นโอกาสที่การยางแห่งประเทศไทยเ จะรณรงค์ให้เจ้าของสวนยางดังกล่าวแบ่งส่วนต้นยางเป็น 2 ส่วน คือขอโค่นนก่อนส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตด้วยฮอร์โมนเอทธิลีนสำหรับต้นยางที่ยังมีหน้ากรีดอยู่ ซึ่งตามหลักวิชาการเรียกว่า “กรีดยางหน้าสูง” จะทำให้เจ้าของสวนยางมีรายได้จากการขายไม้ยางส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นรายได้จากการกรีดยางหน้าสูงด้วยเทคโนโลยีการใช้ฮอร์โมน เอทธิลีน ซึ่งส่วนนี้ อาจจะไม่โค่นไปถึงต้นยางอายุ 40-50 ปี ก็เป็นได้ถ้ายังมีหน้ากรีดได้อยู่ ซึ่งกรณีนี้ จะเป็นการแก้ปัญหาเนื้อที่ขอทุนการสงเคราะห์ที่เกินเป้าหมายได้ด้วย

     อนึ่ง ในการเพิ่มมูลค่ายางพารา เป็นนโยบายของรัฐบาลเพื่อใช้ยางในประเทศให้มากขึ้น ทางการยางแห่งประเทศไทย ควรสนับสนุนและส่งเสริมให้ชาวสวนยางที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ หรือนิติบุคคลที่มีอาชีพเกี่ยวกับยางพารา ทำการแปรรูปวัตถุดิบยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ยางตามความถนัดและความต้องการของตลาด ในการนี้ ต้องมีโรงงานต้นแบบเป็นสถานที่ฝึกอบรมและสาธิตรองรับ ซึ่งกยท.ในครั้งที่เป็น สกย. ได้สนับสนุนงบประมาณสร้างโรงงานต้นแบบพร้อมอุปกรณ์ไว้พร้อมแล้ว ที่จังหวัดระยอง สร้างบนที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของกยท. มีการใช้ฝึกอบรมไปบ้างแล้ว ควรจะใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของ กยท.อย่างคุ้มค่า และเป็นการสนองตอบนโยบายของรัฐบาลอีกด้วย


รายงาน