หนังสือพิมตาทันนิวส์

10 พฤษภาคม 2565

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์

น้ำหมักชีวภาพที่ใช้ในประเทศไทย ช่วยบำบัดน้ำเน่าเสียในคลอง

ชาวบ้านในประเทศไทยร่วมกับผู้นำชุมชนจัดทำน้ำหมักชีวภาพแก้ปัญหาน้ำเน่าในคลองธรรมชาติที่ส่งกลิ่นเหม็น น้ำหมักชีวภาพสามารถทำได้โดยนำเศษอาหารที่เหลือจากการบริโภคประจำวันมาผสมกับกากน้ำตาลและหัวเชื้อน้ำอีเอ็ม จากนั้นหมักทิ้งไว้ในถังขนาดใหญ่ภายใต้สภาวะไร้อากาศตามธรรมชาติเป็นเวลา 15 วัน  หลังจากหมักครบกำหนดแล้ว ชาวบ้านก็เทน้ำหมักชีวภาพลงในคลองเพื่อช่วยเพิ่มออกซิเจนและปรับปรุงสภาพน้ำในคลองให้ใสสะอาด  ชาวบ้านในอำเภอเมืองสมุทรปราการ กล่าวว่า น้ำหมักชีวภาพสามารถนำไปใช้ทำการเกษตร เลี้ยงปลา และ รดน้ำต้นไม้ ได้อีกด้วย








นายบัญชา มั่นทองคำ กำนัน ต.บางด้วน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ “ วันนี้เราจะมาแนะนำสูตรการทำน้ำหมักชีวภาพโดยการนำเศษอาหารหรือเศษผัก  ที่เหลือจากของใช้ในครัวเรือน คลุกเคล้ากับผลไม้ต่าง ๆ ประมาณ 1 กก. พร้อมด้วยกากน้ำตาล 1 ลิตร และหัวเชื้อน้ำอีเอ็ม 1 ลิตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน  จากนั้นนำไปหมักเป็นเวลา 15 วัน  สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่าต้องปิดฝาและคนด้วยไม้พายทุก ๆ สองวัน เพื่อป้องกันการสะสมของก๊าซในถัง  แต่ละพื้นที่อาจมีสูตรการทำน้ำหมักชีวภาพที่แตกต่างกัน  ส่วนกลุ่มของเรา จะเน้นที่ภาคการเกษตรและการบำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำธรรมชาติ ”

นางวิภาวรรณ บุญเจริญสุข ชาวบ้านในพื้นที่ “ เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว น้ำในคลองจะใสสะอาด  มีสัตว์น้ำมากมาย  รวมทั้งมีกุ้งตัวใหญ่ที่ชาวบ้านมักจับเป็นอาหาร  แต่เมื่อมาถึงปัจจุบัน ภาคอุตสาหกรรม มีความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น  จึงปล่อยน้ำเสียลงคลอง  จนทำให้คลองที่เราเคยเห็นน้ำใส ๆ ในสมัยก่อน มีสีดำคล้ำกลายเป็นน้ำเสีย  ทำให้เราชาวบ้านและกลุ่มอาสาสมัคร ดำเนินการรณรงค์ ช่วยกันบำบัดน้ำเสีย พยายามทำให้น้ำในคลองกลับมาใสเหมือนเมื่อก่อน ”

นายชาตรี นิ่มสุข ชาวบ้านในพื้นที่ “ น้ำหมักอีเอ็ม ช่วยได้มากในการบำบัดน้ำเสีย  รวมทั้งในพื้นที่ส่วนตัว ที่มีการขุดบ่อน้ำเพื่อการเกษตร การเลี้ยงปลา สามารถนำน้ำหมักนี้ ไปช่วยบำบัดน้ำด้วยจุลินทรีย์ เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำ  ปัจจุบันน้ำในคลองธรรมชาติไม่สามารถฟื้นฟู ให้สะอาดเหมือนแต่ก่อน  เพราะเมื่อก่อนไม่มีโรงงาน แต่ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมมากมาย  และโรงงานยังคงปล่อยน้ำเสียอยู่ตลอดเวลา  ทำได้เพียงสร้างจิตสำนึกให้กับโรงงานและชาวบ้าน ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและให้คิดถึงอนาคตของลูกหลานเรา  ทำแค่ให้น้ำกลับมาใส  ในน้ำมีออกซิเจนเพียงพอให้สัตว์น้ำขนาดเล็ก สามารถอาศัยอยู่ได้ก็พอใจแล้ว ”


ที่มา A24 News Agency

https://youtu.be/_G9e7neWENY