หนังสือพิมตาทันนิวส์

18 มกราคม 2565

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์

ข่าว/ แพร่  อนาคตสดใสของช้างไทย ที่ปางช้างแม่สา ฝันที่ผุดบังเกิดท่ามกลางวิกฤตโควิด 19
อนาคตช้างภาคเหนืออยู่ปลายอุโมงค์แสงแห่งอนาคต  ที่“ บ้านพักช้างสูงวัย Home for Elderly Elephants” ปางช้างแม่สา จ.เชียงใหม่ พลิกจากช้างบริการนักท่องเที่ยวเป็นนักท่องเที่ยวบริการช้าง
ทิศทางฟื้นฟูท่องเที่ยวหลังโควิด 19 ในทศวรรษหน้า ท่องเที่ยวแบบผจญภัย ( Adventure travel) ยังคงใช้แรงงานช้าง ให้บริหารนักท่องเที่ยวอย่างไม่มีเวลาพักอีกต่อไปหรือไม่อย่างไร ในกระแสโลกแห่งการอนุรักษ์ Ecotourrism การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ในเมืองไทยที่ขายการท่องเที่ยวที่มีช้างอยู่ด้วยอย่างไร ถือเป็นสิ่งท้าทายในแนวคิดให้ของ ปางช้างแม่สา  อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
















เราเข้าใจกันดีในหมู่คนไทยทุกคนว่า  “ช้าง” เป็นสัตว์สำคัญของประเทศ ที่นำมาเป็นตราสัญลักษณ์สำคัญ แม่กระทั่งธงชาติสมัยหนึ่งก็ยังใช้ รูปช้างประทับกลางธงชาติ  ช้างเผือกยังเป็นช้างคู่บารมีของกษัตริย์ในหลายประเทศถือเป็นสิ่งทำคัญอย่างหนึ่ง   ที่จังหวัดแพร่ เป็นจังหวัดต้นๆ ที่มีการทำไม้มีความรู้ในการนำช้างมาใช้งานชักลากไม้ออกจากป่า  ช้างกลายเป็นพาหนะสำคัญในการออกศึกสงคราม แม้ในยุครัตนโกสินตอนต้น  “ช้างเลี้ยงมีบทบาทสำคัญในการเดินทัพปราบปรามศัตรู และกู้บ้านกู้เมือง  เป็นเครื่องราชบรรณาการ  มีประเพณีและวิธีการจับช้างป่าทำพัฒนาเป็นช้างบ้าน  มีความรู้ในการฝึกช้างให้พร้อมใช้งาน และ ได้กำหนดให้วันที่ 13 มีนาคม เป็นวันช้างไทย ตรงกับวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา
มายุคสมัยหนึ่งช้างเพิ่มหมดความสำคัญในเชิงศึกสงคราม  แม้ว่ายังมึความหมายของสัญลักษณ์สำคัญของประเทศแต่ก็ถูกนำมาใช้งานเป็นหลัก เช่น  การชักลากไม้ในอุตสาหกรรมไม้  แต่เมื่อปี พ.ศ. 2537 ประเทศไทยประกาศปิดป่า  ช้าง สัตว์ใหญ่ใช้งานในภาคเหนือหรือทั่วประเทศเข้าสู่สภาวะตกงาน  ช้างไม่ได้ตกงานแต่คนเลี้ยงช้างตกงาน  ช้างกลายเป็นภาระของคนเลี้ยงช้าง  ช้างยังคงต้องกิน และ ต้องมีควาญดูแล ถือเป็นค่าใช้จ่ายไม่น้อยเลยในแต่ละเดือนในที่สุด  ช้างบ้านทำงานชักลากไม้ก็ต้องหลบในป่า เพื่อทำงานชักลากไม้ผิดกฎหมาย  ในจังหวัดแพร่ ถือเป็นศูนย์กลางของไม้เถื่อน  ช้างเป็นพาหนะที่ดีที่สุดในการนำไม้ออกจากป่า  แต่ด้วยงานน้อยลงช้างไม่ได้ทำงาน  ความสมบูรณ์ ทำให้ช้างตกมัน  เกิดความดุร้าย ทำร้ายควานช้าง ทำร้ายคนที่เข้าไปใกล้  หลายครั้งหลายคราช้างบ้าน คร่าชีวิตมนุษย์ไปเป็นจำนวนมาก  ทางออกที่ดีคืออะไร....









ในที่สุด  คนเลี้ยงช้าง  ได้ทางออกใหม่เข้าสู่การท่องเที่ยวแบบผจญภัย Adventure travel ช้างบ้านถูกนำไปใช้งานในการนำนักท่องเที่ยวนั่งบนหลังช้างเดินป่า ล่องลำห้วยแบบผจญภัยมิติใหม่  ช้างในเมืองทำไม้ถูกขนย้ายไปยังพื้นที่ท่องเที่ยวเช่น ภูเก็ต  สมุย  และเมืองใหญ่ทางการท่องเที่ยวคือ เชียงใหม่  
การท่องเที่ยวด้วยช้าง  กลายเป็นกระแสนิยมของชาวต่างชาติอย่างมาก  ต้องยอมรับว่า ประเทศไทยเข้าสู่เมืองที่น่าเที่ยวติดอันดับต้นๆ ของโลก  การท่องเที่ยวผจญภัยไปกับช้างเป็นกิจกรรมหนึ่งทึ่นักท่องเที่ยวชาวยุโรปและอเมริกานิยมเป็นพิเศษ
จากปี พ.ศ. 2518 เป็นต้นมา การท่องเที่ยวโตขึ้นอย่างรวดเร็ว สถิติรายได้จากการท่องเที่ยวพุ่งกระฉูดกลายเป็นรายได้หลักของประเทศ ในขณะที่  การทำงานของช้าง ต้องทำงานหนักเป็นเงาตามตัว  ปางช้างเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการขายท่องเที่ยวไปทั่วโลก  ปางช้างแม่สา เป็นกิจการท่องเที่ยว Adventure travel แห่งหนึ่งนำช้างนำช้างพานักท่องเที่ยวร่องไพร ลัดเลาะไปตามลำน้ำแม่สาและลำน้ำสาขาต่างๆ  ปางช้างแห่งนี้เกิดขึ้นจากนักธุรกิจท่องเที่ยวชื่อนายสุชาติ กัลมาพิจิตร นักธุรกิจชาวกรุงเทพมหานคร...เริ่มเข้ามาเช่าที่ดินราชพัสดุจำนวน 200 ไร่ สร้าง“เอราวัณรีสอร์ท”ทำธูรกิจท่องเที่ยวที่พัก แต่เนื่องจากการเดินทางไปแม่สา – โป่งแยง เป็นไปด้วยความยากลำบากทำให้ต้องขายกิจการไป แล้วสร้างปางช้างเมื่อปี พ.ศ. 2519 ทำธุรกิจท่องเที่ยวตลอดมาจนมีปริมาณช้างในครอบครองมากขึ้น เกือบ 80 เชือก เดิมทำเหมืองแร่ที่โป่งแยงแต่ไม่ประสบความสำเร็จ สร้างธุรกิจท่องเที่ยวไปได้สวยจนเติบใหญ่มีทุนดำเนินงานระดับ 100 ล้าน   คุณสุชาติ ถือเป็นนักธุรกิจที่จับงานท่องเที่ยวด้วยช้างจนประสบความสำเร็จแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ทีเดียว  แต่ปี พ.ศ. 2562 คุณสุชาติถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็ง  ทำให้ปางช้างต้องเสียหัวเรือใหญ่ไปอย่างน่าเสียดาย นักลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญสูง  ปลายปี พ.ศ. 2562 นี่เองที่คุณอัญชลี กัลป์มาพิจิตร (บุณราช)  ลูกสาวเข้ามารับไม้ต่อ เริ่มบริหารจริงจังในปี พ.ศ. 2563 – 2564 ท่ามกลางปัญหาภายในและโรคโควิด 19  ทำให้ปางช้างแม่สาขาดนักท่องเที่ยวขาดสภาพคล่อง ธุรกิจที่เคยเฟื่องฟูกลายเป็นปัญหาหนัก  ช้างแต่ละเชือกต้องมีอาหาร  เมื่อไม่มีนักท่องเที่ยวรายได้ก็ขาด อาหารช้าง ค่าคนงาน จิปาถะ  คนงานจาก 300 คน ลดลงเหลือเพียง  150 คนเท่านั้นที่ยังยืนหยัดสู้ร่วมกับปางช้างแม่สาต่อไป  ควาญช้างที่ทำหน้าที่ หนึ่งคนต่อช้างหนึ่งเชือก ต้องดูแลเพิ่มขึ้น 2-3 เชือก ถือเป็นช่วงที่วิกฤตที่สุด 
ช่วงช่วงจังหวะต้องถึงกับปิดกิจการ  งดรับนักท่องเที่ยวเพราะขาดความพร้อม ปางช้างสิ่งที่ต้องระวังที่สุดคือความปลอดภัยทั้งคนและช้าง  ท่ามกลางวิกฤตที่เกิดขึ้น  ผู้บริหารปางช้างที่ต้องกัดฟันสู้ ด้วยรักษาเจตนารมภ์ของบิดาและหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับช้างที่มีอยู่ถึง 70 เชือก  
ในปางช้างที่เงียบเหงา  ช้างยังคงต้องกินอาหารทุกวัน พี่อ๋อย คุณอัญชลีเดินตรวจเยี่ยมไปทั่วปางในพื้นที่ 200 ไร่ ทำอย่างไรจะให้ธุรกิจของพ่อกลับคืนมา  กรอปกับกระแสโลกที่เริ่มมองเห็นการพิทักษ์สัตว์  ดูแลสัตว์ ไม่ทำร้ายสัตว์  สิ่งเหล่านี้กลายเป็นข้อมูลใหม่ที่ คุณอัญชลีไม่ได้นิ่งนอนใจ จุดหนึ่งของปาง  เป็นช้างชราภาพ ที่ปางช้างแม่สา มิได้นิ่งนอนใจ นำเข้าศูนย์บริบาล ให้ช้างชราได้มีชีวิตรอดต่อไป  บางเชือกไม่มีฟันแล้ว บางเชือกสุขภาพไม่แข็งแรง  บ้างเชือกอ่อนแรงล้มลง  สัตว์แพทย์และหมอช้างพื้นบ้านต้องช่วยกันดูแล  หลายเชือกล้ม  ช้างล้มทางปางถือว่าเป็นผู้มีพระคุณ ถือเป็นเหมือนญาติผู้ใหญ่ที่ต้องดูแล ทำพิธีให้ตามประเพณีของหมอช้าง พร้อมทำการฝังในสุสานที่ถูกเก็บบันทึกประวัติ ความดีงาม ให้ปรากฏไว้ในปางแห่งนี้
ช้างชราต้องได้รับอาหารที่เหมาะสม  การนำหญ้ามาบดผสมหัวอาหารให้ช้างรับรับประทานอย่างเพียงพอ ถือเป็นภารกิจสำคัญ  ภาระหน้าที่ของหมอช้างพื้นบ้านกลายเป็นเรื่องใหญ่ ที่ต้องนำเอาสมุนไพรตำรับเลี้ยงช้างงัดออกมาปรุงให้ช้าง ทั้งภายใน และ รักษาภายนอก การให้ยาแก้ฝี โรคผิวหนัง   แผลกดทับ  แผลจากการล้ม ถือว่ามีความจำเป็นมากในแต่ละวัน  การดูแลสุขภาพช้างทั้งงา  งวง ผิวหนัง เล็บเท้า ต้องมีการแต่งเพื่อความปลอดภัยลดการแตกเสียหาย  การอาบน้ำช้าง  การปล่อยให้ช้างได้เล่นโคลน สิ่งเหล่านี้ถือเป็นสุดยอดของการดูแลสุขภาพข้าง
กิจกรรมเหล่านี้เองที่ คุณอัญชลีได้เดินดูการทำงานของคนปางช้างที่เหลืออยู่ทำกัน  สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความรู้ที่ช้างทั้งโลกต้องได้รับการดูแลเช่นเดียวกับปางช้างแม่สา   
คุณอัญชลี กล่าวว่า  “ดิฉันเดินดูการทำงานของควานช้าง  หมอสมุนไพร การดูแลสุขภาพช้างแล้ว ถือว่าเป็นความรู้ใหม่ที่ได้เห็นว่าเป็นสิ่งดี ๆ กับช้าง สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นแนวใหม่ที่จะเปิดให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกได้เข้ามาใกล้ชิดช้างไทยได้อีกครั้งหลังปัญหาโควิด 19 ลดความรุนแรงไป  เมื่อมองเห็นจุดนี้จึงคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องปลดโซ่ให้ช้างทุกเชือก  ช้างหนุมสาว จะได้อยู่ร่วมโขลงในปางช้างที่มีอาหารและน้ำอุดมสมบูรณ์  นักท่องเที่ยวได้เข้ามาศึกษาหาความรู้การดูแลช้าง  ช่วยควานดูแลช้าง ใกล้ชิดกับช้าง ได้ขัดสีฉวีวัลย์ ดูแล ลงอาบน้ำร่วมกับช้างพาช้างไปเล่นโคลน  หรือ ไปฝึกทำยาบำรุงกระดูก  ยาแก้โรคต่างๆ ของช้าง  พื้นที่สร้างอาหารให้ช้าง คือ แปลงปลูกหญ้า ปลูกข้าวเหนี่ยวอาหารบำรุงช้าง  นักท่องเที่ยวที่มาปางช้างแม่สาในอนาคต คือคนรักช้าง ต้องการดูแลช้าง มากกว่ามานั่งหลังช้างท่องเที่ยวอีกต่อไป ซึ่งจะได้อัถรสมากกว่าการขี่ช้างเสียอีก  เราพร้อมแล้วที่จะปลดโซ่ช้างหนุ่ม  ปลอดแหย่งลงจากหลังช้างทำงาน และ เปิดศูนย์บริบาลช้าง ให้เสรีภาพกับช้างบ้านเสียที 
“ บ้านพักช้างสูงวัย Home for Elderly Elephants” เปิดเพื่อรองรับช้างที่มีปัญหาสุขภาพและต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ก่อนวัยชราและวัยชรา เพื่อยืดระยะเวลาของอายุช้างออกไป โดย ปางช้างแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่เดินหน้าเปิด Home for Elderly Elephants  ไม่ต่างอะไรกับบ้านพักผู้สูงวัย
Home for Elderly Elephants  ตั้งขึ้นที่เดอะช้าง สวนลิ้นจี่ดินแดนช้างปลดโซ่ของปางช้างแม่สา โดยคุณอัญชลี กัลมาพิจิตร ผู้บริหารปางช้างได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ช้างที่เริ่มชรา อายุ 50 กว่าปีขึ้นไป หรือมีปัญหาด้านสุขภาพ จะถูกนำมาดูแลพักฟื้นที่นี่ อย่างเป็นพิเศษ ช้างสูงวัยบางเชือกฟันเหลือน้อย หรือไม่มีฟัน(ฟันชุดสุดท้ายหลุดหมดแล้ว)
การให้อาหารที่เหมาะสมกับช้างแต่ละเชือกตามสภาพร่างกายจึงสำคัญ เพราะช้างต้องการอาหารเป็นจำนวนมาก และนอกจากหญ้าบดละเอียดแล้ว ช้างสูงวัยยังต้องการแร่ธาตุ วิตามินที่เสริมสร้าง บำรุงกระดูก บำรุงร่างกายที่กำลังเสื่อมถอย
การเอาใจใส่ช้างเหล่านี้ จะช่วยยืดอายุของช้างออกไปได้ ถึงจะเป็นบ้านหลังสุดท้าย แต่ก็ควรเป็นบ้านที่ปลอดภัยและให้ความสุขกับช้างในบั้นปลายชีวิตของเขาได้บ้าง
วันที่ 27 ม.ค.2565 นี้  ถืเป็นห้วงเวลาที่ดี พร้อมเปิดื Home for Elderly Elephants ในปางช้างแม่สา ผู้ที่มีจิตกุศลร่วมสนับสนุนโครงการได้ ปัจจุบันยังเปิดให้เข้าชมช้างในปางช้างแม่สาฟรี เพียงช่วยกันอุดหนุนอาหารช้างตะกร้าละ 100 บาทเพื่อสร้างรายได้จัดการอาหารช้างได้บ้าง  นักท่องเที่ยวที่สนใจไปสัมผัสช้างอย่างใกล้ชิด สามารถติดต่อได้ที่คุณรัตนา ปางช้างแม่สา 081-882-3738, 089-838-4242 ได้ทุกวัน
ภาพ/ข่าว
ราเชนทร์ โชติถนอมกิจ
แพร่.รายงาน