หนังสือพิมตาทันนิวส์

15 ธันวาคม 2564

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์

ข่าว/แพร่     กลุ่มผู้ใช้น้ำ 2  ตำบล ร่วมกั้นทำนบแม่น้ำยม เพื่อทำนาปรัง ลงทุน 24 ล้าน ทำนบ 6 จุดละ 9 แสนบาท นาปรัง 6 พันไร่ รายได้เฉลี่ยไร่ละ 4 พันบาท 

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 15 ธันวาคม  2564 กลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรอุปโภค บริโภคในตำบลปงป่าหวาย และตำบลเด่นชัย อ.เด่นชัย จ.แพร่ รวม 15 หมู่บ้าน  ร่วมกันนำกระสอบทรายกั้นน้ำยม เพื่อกักน้ำก่อนที่น้ำจะแห้งไปเพื่อสะสมไว้ทำนาปรังและการเกษตรอื่นๆ รวมไปถึงระบบประปาส่วนภูมิภาคและประปาหมู่บ้านในท้องถิ่นอีกด้วย










นายสมโภชน์  หมวดหมู่  กำนันตำบลปงป่าหวาย กล่าวว่า สองปีที่ผ่านมา น้ำแล้งจนทำนาไม่ได้ และเกิดความขัดแย้งในการใช้น้ำหลายครั้งมาก  ในปีนี้กลุ่มผู้ใช้น้ำ ต้องเร่งดำเนินการก่อนน้ำแห้งโดยใช้งบประมาณของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแพร่ จัดซื้อกระสอบทรายและวัสดุอื่นๆ  แต่ละจุดใช้งบประมาณ 900,000 บาท สร้าง 6 จุด ต.ปงป่าหวาย หมู่ 2 ,5,7 หมู่ 8 และ หมู่ 7 ต.ปากปาน ต.ไทรย้อย 2 จุด พื้นที่การทำนาปรัง 6,000 ไร่ รายได้เฉลี่ยไร่ละ 4,000 บาท รวม รายได้ทั้งหมดประมาณ 24 ล้านบาท คุ้มค่ากับการลงทุนมาก และอยากให้ทางราชการใช้วิธีทำฝายกึ่งถาวรโดยการจัดการของ  อบจ.แพร่ น่าจะยั่งยืนกว่า
นายเกษม  นวลดี  ผู้จัดการประปาเด่นชัย  กล่าวว่า ปีที่ผ่านมาภัยแล้ง ส่งผลกับการจ่ายน้ำในเขต อ.เด่นชัย  ปีนี้มีการเตรียมการตั้งแต่น้ำยังไม่ขาด เชื่อว่าจะมีน้ำเพียงพอในการทำน้ำประปากับผู้บริโภคในเขตในช่วงฤดูแล้งปีนี้

นายสายัณห์ กาวีวงศ์   หัวหน้าสำนักงานป้องกันบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแพร่  กล่าวว่า ปีนี้เป็นนโยบายของทางจังหวัดแพร่ ที่มี นายสมหวัง พ่วงบางโพ ของบประมาณเร็วกว่าทุกปีทำให้จัดการน้ำได้  เป็นการลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นในช่วงภัยแล้ง
นายกองโทอิสรา  สุขแจ่มใส  นายอำเภอเด่นชัย  ได้เดินทางมาร่วมให้กำลังใจกลุ่มผู้ใช้น้ำที่ช่วยกันกั้นทำนบกระสอบทรายชั่วคราว   และกล่าวว่า ปีนี้คาดว่าภัยแล้งจะไม่หนักเช่นทุกปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีการเตรียมการล่วงหน้า  กั้นน้ำยม 6 จุดใหญ่ๆ และกั้นลำน้ำสาขาอีก 24 แห่ง ทำให้มีน้ำสะสมจำนวนมากในทุกตำบล  เกษตรกรสามารถทำนาในฤดูแล้งได้ 

ทางกลุ่มผู้ใช้น้ำฯ ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า การลงทุนในครั้งนี้ถือว่าคุ้มค่าที่สุดแล้ว จากการสร้างทำนบ 6 จุด ต.ปงป่าหวาย หมู่ 2 ,5,7 หมู่ 8 และ หมู่ 7 ต.ปากปาน ต.ไทรย้อย 2 จุด พื้นที่การทำนาปรัง 6,000 ไร่ รายได้เฉลี่ยไร่ละ 4,000 บาท รวม รายได้ทั้งหมดประมาณ 24 ล้านบาท คุ้มค่ากับการลงทุนมาก 
และอยากให้ทางราชการใช้วิธีทำฝายกึ่งถาวรโดยการจัดการของ  อบจ.แพร่ น่าจะยั่งยืนกว่า
ภาพ/ข่าว
ราเชนทร์  โชติถนอมกิจ
แพร่.รายงาน