หนังสือพิมตาทันนิวส์

08 กันยายน 2564

ประเด็นอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ขายยางในสต๊อกรัฐบาล 1.04 แสนตันไม่ชอบด้วยกฏหมาย

ข้อกล่าวหา  ขายยางพารา ในสต๊อกของรัฐ จำนวน 104,763,350 กิโลกรัม หรือ 1.04 แสนตัน ร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมาย ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2542 ในการขายยางพารา จำนวน 104,763,350 กิโลกรัม ตามสัญญาเลขที่ กยท/ค.01/2564  ลงวันที่ 28 เมษายน 2564  เอื้อประโยชน์ ให้แก่ บริษัท  นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) (NER) และกีดกันผู้ประกอบการทั่วไป และมีการขายยาง ในราคาเพียง 37.26 บาท/กิโลกรัม ต่ำกว่าราคาตลาดกว่าเท่าตัว ขณะที่ราคาตลาดกลางประมาณ 65-68 บาท/กก  ทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ โดยมีพฤติการณ์การกระทำผิด 



ดังนี้  นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ชงเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรี ขออนุมัติดำเนินการตามมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติครั้งที่ 1/2563 ที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีฯ เป็นประธาน (เป็นต่อเนื่องมา 7 ปี) นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน  เป็นรองประธานฯ และมติ ครม วันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ได้ลงมติ “มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (การยางแห่งประเทศไทย) เร่งดำเนินการะบายสต๊อกยางในโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกร เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง และโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายางให้หมดไปโดยเร็ว โดยคำนึงถึงระยะเวลาและระดับราคาจำหน่ายที่เหมาะสม เพื่อลดภาระงบประมาณและรักษาประโยชน์สูงสุดของรัฐ”  
 แต่ปรากฎว่าตามหนังสือที่อ้างถึง 3 มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมีการบิดเบือนมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติครั้งที่ 1/2563 คือ 
1) เติมคำว่า “เร่งดำเนินการระบายสต๊อกยาง...ให้หมดไปโดยเร็ว”
2) ตัดคำว่า “ราคายางในตลาด” ทิ้ง
3) ตัดคำว่า “การนำยางในสต๊อกไปใช้ในหน่วยงานภาครัฐ” ทิ้ง
 
ตามรายงานการประชุม วันที่ 1 มิถุนายน 2563 การประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) กรณีสต๊อกยางโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง และโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง ที่ประชุมมีมติ “ที่ประชุมมีมติมอบหมายให้การยางแห่งประเทศไทยระบายยางในสต๊อกโดยพิจารณาความเหมาะสมของสถานการณ์ราคายางในตลาด รวมทั้งการนำยางในสต๊อกไปใช้ในหน่วยงานภาครัฐให้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และกฎระเบียบต่อไป”


มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ได้บิดเบือนมติ กนย เป็นการสร้างช่องทางให้ เกิดการขายยกล็อตยางแบบเหมาคละในสต๊อกรัฐบาลจำนวน 104,763,350 กิโลกรัม ที่เป็นยางแผนรมควันอัดก้อน หรือยาง RSS 3 จำนวน 100,717 ตัน หรือ 96.14% ยางแท่ง STR20 จำนวน 3,751 ตัน หรือ  3.58 % และยางอื่นๆ จำนวน 293 ตัน หรือ 0.28 % เป็นยางพารามีกระบวนการผลิตเบื้องต้นต่างกัน ตลาดโลกและตาลยางในประเทศแยกต่างกัน การนำไปขายคละเหมาเป็นการกระทำไม่สุจริตส่งไปทางทุจริต จนต่อมาเปิดการประมูลขายให้แก่ บริษัท NER เพียงรายเดียวในราคา 37.27 บาท/กก   เชื่อว่าเป็นกระบวนการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดัวยเหตุผลดังนี้
1 ยางพารา ในสต๊อกของรัฐ จำนวน 104,763,350 กิโลกรัม เป็นยางแผ่นรมควัน RSS3 อยู่ถึงจำนวนร้อย 96.14 หรือประมาณ 100,717,000 กิโลกรัม ซึ่งราคาตลาดกลางประมาณ 65-68 บาท/กก  
2.คุณภาพยาง ในการประชุม กนย.ครั้งที่ 1/2563 มีการรายงานวิธีการประเมินคุณภาพยางในสต๊อกของรัฐบาลไว้อย่างชัดเจนโดยใช้ราคาฐานแล้วปรับลดตามคุณภาพยาง ที่ประชุม กนย.วันที่ 1 มิย.63  คือ ราคาฐานะปรับลดราคาตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการระบายสต๊อกยางโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง และโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง คือ
- ยางเสียรูปทรง ใช้ฐานราคาปรับลด 0.28 บ./กก.
- ยางที่มีราสนิม ใช้ฐานราคาปรับลด 0.75 บ./กก.
- ยางที่มีราสีขาว และมีความชื้นสูง ใช้ฐานราคาปรับลด 4.23 บ./กก.
- ยางแท่ง STR 20 ไม่มีใบรับรองคุณภาพ ขายเป็น Block rubber ใช้ราคาฐานปรับลด 2 บ./กก.
- ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 อัดก้อน ณ โกดัง เท่ากับราคา FOB กรุงเทพฯ - ค่าใช้จ่ายส่งออก 3.40 บ./กก.

   จึงน่าเชื่อว่า เป็นการสมคบคิดกันจัดทำราคาประเมินโดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่รัฐ  และเป็นไปเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ NER ให้ได้ยางจากสต๊อกรัฐในราคาถูก  
3. การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้มีประกาศเรื่อง ให้ยื่นข้อเสนอซื้อยางแผ่นรมควันอัดก้อน ยางแท่ง STR 20 และยางอื่น ๆ เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2563 โดยมีเงื่อนไขที่เป็นการกีดกันผู้ประกอบการทั่วไป และเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท บริษัท  นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) ดังนี้
1) การขายยางในสต๊อกของรัฐบาล จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบที่ออกตาม พรบ.ดังกล่าว (ซึ่งนายเฉลิมชัย อ้างว่าได้นำ พรบ.ดังกล่าวมาใช้) หรือหากอ้างว่าเป็นการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ก็จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 7 วรรคสี่ คือ กล่าวคือจะต้องสอดคล้องกับหลักการ ...(2) โปร่งใส โดยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุต้องกระทำโดยเปิดเผย เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม มีการปฏิบัติต่อผู้ประกอบการทุกรายโดยเท่าเทียมกับ มีระยะเวลาที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการยื่นข้อเสนอ มีหลักฐานการดำเนินการอย่างชัดเจน 

แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า 
    (1) ประกาศกำหนดให้ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเป็นผู้มิสิทธิร่วมการเสนอราคา กับ กยท.ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 9 - วันอังคารที่ 20 เมษายน 2564 ก่อนเวลา 16.30 น. ให้เวลาเพียง 3 วันทำการ ทั้งที่ โครงการมีมูลค่าราคาตลาดกว่า 8 พันล้านบาท ซึ่งตามระเบียบ ก.การคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พ.ศ.2560 (ออกตามความในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560) ข้อ 51 วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปต้องให้ระยะเวลาในการเผยแพร่ประกาศไม่น้อยกว่า 20 วันทำการ  
    (2) ประกาศกำหนดให้ผู้สนใจเข้าร่วมการเสนอราคา ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันในการเสนอราคาเป็นแคชเชียร์เช็ค มูลค่า 200 ล้านบาท สั่งจ่าย กยท. และหลักฐานแสดงความสามารถในการชำระเงิน (หลักฐานที่ธนาคารรับรองไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ทั้งที่ให้ระยะเวลาเตรียมเอกสารเพียง 3 วันทำการ 
    (3) ประกาศไม่ได้กำหนดวันประมูลขายยางว่าเป็นวันใด ไม่ได้กำหนดวิธีการเสนอราคาว่าจะต้องเสนอราคาอย่างไร ยืนราคากี่วัน 
    (4) ประกาศไม่ได้แจ้งราคาประเมินยาง
    (5) ประกาศไม่ได้กำหนดให้ดูสถานที่จัดเก็บยาง  ไม่กำหนดให้ดูสภาพยางว่ามียางแต่ละประเภทเป็นยางอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด
    (6) ประกาศไม่ได้กำหนดให้ผู้เข้าร่วมเสนอราคาได้รับคำชี้แจงจาก กยท. 
การจัดประกาศดังกล่าว ผู้ประกอบการโดยปกติทั่วไป ไม่มีรายใดที่จะสามารถเข้าร่วมประมูลได้ เนื่องจากมีระยะเวลาเตรียมตัวเพียง 3 วันทำการ ที่ต้องเตรียมหลักประกันกว่า 200 ล้านบาทและขอให้ธนาคารรับรองหลักฐานความสามารถทางการเงินไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท และนอกจากระยะเวลาที่จำกัดแล้ว การเตรียมหลักประกันต่าง ๆ ยังมีค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการต้องจ่าย แต่ประกาศ ไม่ได้ให้ผู้ประกอบการเห็นสภาพและประเภทยาง ว่ายางมีสภาพอย่างไร และยางแต่ละประเภทมีจำนวนเท่าไรบ้าง ทั้ง ไม่มีการแจ้งราคาประเมิน วันประมูลขายและวิธีเสนอราคา ผู้ประกอบการรายใดจะกล้าลงทุนเข้าประมูล และการเข้าประมูลโดยไม่เห็นของโดยวิญญูชนก็ต้องเสนอราคาตลาด แต่ก็ไม่รู้ว่ายางที่ขายเป็นยางประเภทใด แล้วจะเสนอราคาได้อย่างไร


ผู้ที่เข้าเสนอราคาใด ในกรณีดังกล่าว มีได้เฉพาะผู้ที่รู้ข้อมูลภายในล่วงหน้า ซี่งหมายความว่ามีการสมคบคิดกันฮั้วประมูลมาตั้งแต่ต้น  โดยเฉพาะข้อเท็จจริงบ่งชี้เจตนา คือ NER เข้าร่วมประมูลเพียงรายเดียว  NER สามารถเสนอราคา 37.27 บ./กก.  ทั้งที่ NER ไม่เห็นของ คือไม่เห็นยาง และ กยท. ไม่เปิดเผยราคาประเมิน  แต่ทำไม NER ไม่เสนอราคาตลาด เหมือนที่ NER เคยเข้าประมูลเมื่อต้นปี 2563 และราคาที่ NER เสนอกลับเสนอได้สูงกว่าราคาประเมินของ กยท. 37.01 บ./กก.  NER  เสนอราคาได้สูงกว่าเป็นหลักสตางค์   จึงเชื่อได้ว่า การประมูลขายยางดังกล่าวเป็นการฮั้วประมูลเอื้อประโยชน์ให้ NER ได้ทำสัญญาซื้อขายยางกับ กยท. ในราคาถูก ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐอย่างมหาศาส 
2) ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้กำกับดูแลการยางแห่งประเทศไทย ได้ชี้แจงว่า การประมูลขายได้ดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 215
ข้อ 215 ระบุว่า “หลังจากการตรวจสอบแล้ว พัสดุใดหมดความจำเป็นหรือหากใช้ในหน่วยงานของรัฐต่อไปจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก ให้เจ้าหน้าที่เสนอรายงานต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ เพื่อพิจารณาสั่งให้ดำเนินการตามวิธีกาอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้


     (1) ขายให้ดำเนินการขายโดยวิธีทอดตลาดก่อน แต่ถ้าขายโดยวิธีทอดตลาดแล้วไม่ได้ผลดีให้นำวิธีกำหนดเกี่ยวกับการซื้อมาใช้โดยอนุโลม ....”
การที่นายเฉลิมชัย อ้างว่าให้วิธีตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 215 นั้น แสดงให้ปรากฎชัดได้ว่าการดำเนินการประกาศประมูลยางครั้งนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ การขายทอดตลาดของ กยท. จะต้องมีการประกาศขายทอดตลาด โดยเงื่อนไขประกาศ จะต้องระบุในเรื่องดังต่อไปนี้
    - ประกาศต้องกำหนดการดูสถานที่รับฟังรายละเอียด
- ประกาศต้องกำหนดวันรับฟังคำชี้แจงพร้อมกัน ซึ่งคณะกรรมการฯ จะแจ้งราคาประเมินซึ่งเป็นราคาเริ่มต้นในการประมูลให้ผู้เข้าร่วมประมูลราคาประกอบการตัดสินใจ
- ประกาศต้องกำหนดวันประมูลขายทอดตลาดว่าเป็นวันใด ณ สถานที่ใด
-ประกาศต้องกำหนดวิธีการเสนอราคาแต่ละครั้ง คณะกรรมการจะขานราคาที่เสนอ 3 ครั้ง สำหรับครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ผู้สนใจเสนอราคาให้สูงขึ้นอีกย่อมกระทำได้ ต่อเมื่อคณะกรรมการฯ ได้ขานราคาครั้งสุดท้ายครบ 3 ครั้งแล้ว หรือเคาะไม้ ให้ถือเป็นราคาสูงสุด
แต่ประกาศประมูลยาง104,763,350 กิโลกรัม ในครั้งนี้ ไม่ได้มีการกำหนดในลักษณะดังกล่าว ทั้ง ไม่ใช่ทั้งไม่เข้าวิธีการใด ๆ ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และข้อบังคับคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทยว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างเกี่ยวการพาณิชย์ พ.ศ. 2561 จึงเป็นการประกาศประมูลขายยาง ที่กระทำโดยปราศจากอำนาจตามกฎหมาย เป็นการประกาศขายยางด้วยวิธีการตามอำเภอใจ จึงเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายและโดยทุจริต


3) นอกจากนี้ในการประมูลขายยางเมื่อปี 2559 รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 3 ก่อนที่พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 จะใช้บังคับ กยท.ได้ประกาศประมูลขายยางด้วยการประมูลสู้ราคาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยในประกาศได้ระบุว่า “การยางแห่งประเทศไทยจะดำเนินการชี้แจงขั้นตอนการประมูล แจ้งสถานที่จัดเก็บยางครั้งที่ 1 ที่จะทำการประมูลพร้อมทดสอบการประมูล และตอบข้อซักถามแก่ผู้สนใจเข้าประมูล   แต่ก็ปรากฏว่าการประกาศประมูลขายยาง 104,763,350 กิโลกรัม ครั้งนี้ ก็ไม่มี การกำหนดเรื่องดำเนินการชี้แจงขั้นตอนการประมูล แจ้งสถานที่จัดเก็บยาง ที่จะทำการประมูล และตอบข้อซักถามแก่ผู้สนใจเข้าประมูล  จึงเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่า ประกาศประมูลยางครั้งนี้มีลักษณะเป็นการกีดกัน เป็นการทุจริตฮั้วประมูล



4. ความเสียหาย
- ผลขาดทุนจากการขายยางต่ำกว่าราคาตลาด ประมาณ 3,000 ล้านบาท
- การขายยางเป็นการทุ่มตลาดของเกษตรกรที่ขณะราคายางในตลาดช่วงที่ขายราคาตลาดกลางประมาณ 65-68 บาท/กก  และรัฐบาลนำยางทุ่มขายในราคาเพียง 37.27 บาท จึงเป็นการทำลายเสถียรภาพของตลาดยางพารา จากการขายยางจำนวนมาก ในราคาต่ำกว่าท้องตลาดมาก ทำให้ราคายางในตลาดต่ำลงกว่า 10 บ./กก. เสียหายต่อเกษตรกรชาวสวนยางประมาณ 45,000 ล้านบาท ที่ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยมีที่ดินประมาณ 1-10 ไร่ต้องได้รับความเดือดร้อน 
-รัฐต้องชดเชยหนี้ ธกส ที่เป็นหนี้อยู่ประมาณ 9,955 ล้านบาทเศษ เมื่อขายยางในราคาถุก
ภาพ ข่าว ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ 

หัวหน้าศูนย์ข่าว จังหวัดสงขลา รายงาน.