หนังสือพิมตาทันนิวส์

14 สิงหาคม 2564

จดหมายเปิดผนึก การขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง ตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ 2558

วันที่  13 สิงหาคม 2564 เรียน   ประธานคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย ผ่านผู้ว่าการยางพาราแห่งประเทศไทย อ้างถึง  หนังสือ กยท. ที่กษ 2907.04/9991 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2564
       ตามหนังสือที่อ้างถึง การยางแห่งประเทศไทย  ได้ตอบชี้แจงการขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง ตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ 2558 ให้สมาคม สหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ทราบใน 5 ประเด็น นั้น
    สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ขอชี้แจงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อเสนอของสมาคมฯ ดังนี้

     สมาคมฯ เสนอว่า เกษตรกรชาวสวนยางที่ปลูกยางไปแล้วในที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามกฎหมายซึ่งเขาเหล่านั้นมีคุณสมบัติเป็น “เกษตรกรชาวสวนยาง”ตามความหมายใน มาตรา 4 ของพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 คือ (ก) เป็นผู้ทำสวนยาง (ฃ) มีสิทธิ์ได้รับผลผลิตจากต้นยางในสวนยาง ข้อเสนอของสมาคมฯ เป็นไปตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติฯ และสมาคมฯ ได้แจ้งให้ท่านทราบแล้วว่า แม้ว่าจะมีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดในมาตรา 4 ก็ตาม แต่สมาคมฯ ก็เคารพในกฎหมาย มิได้เสนอเรื่องที่ขัดกับกฎหมายแต่อย่างใด กล่าวคือ กรณีเกษตรกรชาวสวนยางไม่มีเอกสารสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินตามกฎหมาย ย่อมที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการยางฯมาตรา 36 คือ ไม่มีสิทธิ์ขอทุนสงเคราะห์ปลูกแทนตามมาตรา 49(2) จึงขอย้ำว่าสมาคมฯ มิได้สนับสนุนให้เขาเหล่านั้นฝ่าฝืนกฎหมายแต่อย่างใด เพราะมาตรา 36 มีข้อห้าม เฉพาะมาตรา 49(2)  เท่านั้นฉะนั้น เขาเหล่านั้นซึ่งเป็นผู้ถือบัตรสีชมพู ก็ย่อมมีสิทธิ์ได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนพัฒนายางพารา ได้เช่นเดียวกับผู้ถือครองบัตรสีเขียว ยกเว้นเฉพาะมาตรา 49(2)  เนื่องจากมาตรา 36 กำหนดเป็นข้อห้ามไว้ชัดเจน จึงสรุปว่าข้อเสนอของสมาคมฯ เป็นข้อเสนอที่มิได้ขัดแย้งกับพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 แต่อย่างใด
เนื่องจากคุณสมบัติของเกษตรกรชาวสวนยางตามมาตรา 4 ซึ่งประกอบด้วย 2.1 เป็นผู้ทำสวนยาง 2.2 มีสิทธิ์ได้รับผลผลิตจากสวนยาง จากต้นยางในสวนยาง การรับรองทั้ง 2 ข้อนี้ กระทำได้โดยกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ในท้องที่ที่สวนยางนั้นตั้งอยู่ เป็นการรับรองความถูกต้องของ “บุคคล” ไม่เกี่ยวกับ “ต้นยาง” ซึ่งการรับรองนี้ ในอดีตสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ก็เคยให้กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้รับรองให้กับผู้ถือครองภบท. 5

     สมาคมฯ ขอเรียนว่า ตราบใดที่หน่วยงานของรัฐ ยังมิได้มีคำสั่งให้เกษตรกรรื้อถอนต้นยางและมิได้ริบผลผลิตจากต้นยางในสวนยางมาเป็นของรัฐ ผลผลิตย่อมเป็นของเกษตรกรอยู่ แต่เมื่อใดรัฐออกคำสั่งให้มีการรื้อถอนต้นยางออกเกษตรกรย่อมหมดสิทธิ์ความเป็น “เกษตรกรชาวสวนยาง” ทันที
สมาคมขอเรียนว่า ที่ผ่านมา จนถึงทุกวันนี้ เกษตรกรที่ปลูกยางไปแล้วในที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามกฎหมายก็ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากการยางแห่งประเทศไทยอยู่แล้วดังเช่น ให้เข้าอบรมกรีดยาง ในหลักสูตรของการยางแห่งประเทศไทยหรือให้นำยางมาขายได้โดยผู้ซื้อยางรวมทั้งการยางแห่งประเทศไทยก็มิได้เป็นผู้รับซื้อของโจรแต่อย่างใด ฉะนั้นการยางแห่งประเทศไทยควรจะต้องมีความชัดเจนในการประกาศหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนของเกษตรกร
             สมาคมมีความเห็นว่าความพยายามของการยางแห่งประเทศไทยในการประชุมร่วมกับส่วนราชการที่รับผิดชอบพื้นที่ป่านั้น เป็นเรื่องที่จะพิจารณาว่าจะยินยอมให้มีการปลูกยางทดแทนยางเก่าในเขตพื้นที่ป่าหรือไม่  ขอเรียนว่าข้อเสนอของสมาคมฯ มุ่งประเด็นที่ “ตัวบุคคลที่เป็นเกษตรกรชาวสวนยาง” มิได้เกี่ยวข้องกับ “พื้นที่ป่า” แต่อย่างใด การมุ่งประเด็นไปที่ตัวบุคคลว่าเป็น “เกษตรกรชาวสวนยาง”หรือไม่ ควรมุ่งไปที่พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558มาตรา 4 และมาตรา 36 เท่านั้น
เพื่อทวงสิทธิอันพึงใด้ของเกษตรกรชาวสวนยางที่ถือบัตรสีชมพูมา5ปีโดยเข้าใม่ถึงมาตรา49(3)-(6)
ภาพ ข่าว ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์
รายงานข่าว. ว่าที่ ร้อยตรี บุญธิญา  คม ตำแหน่ง หัวหน้าผู้สื่อข่าวส่วนกลาง / 
รอง บก. / รองหัวหน้าศูนย์ข่าวภูมิภาค / ส.พทท.สมาคมสื่อมวลชนเพื่อการท่องเที่ยว