หนังสือพิมตาทันนิวส์

11 กรกฎาคม 2564

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์

https://youtu.be/ZNociHpkb7w
คลิป.รายการกฎหมายน่ารู้และการเมืองไทย
>ขอเรียนถามมวลชนที่ออกมาเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันลาออก #คำถามขอเรียนถามว่า หากนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันลาออก กระบวนการและขั้นตอนการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ กลุ่มมวลชนผู้เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันลาออกได้เสนอแนวทางในการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่อย่างไร? จะให้รัฐสภาดำเนินการเลือกนายกรัฐมนตรีตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ปี 2560 หรือท่านมีวิธีการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่เป็นอย่างอื่นกรุณานำเสนอให้ประชาชนได้ทราบด้วย...ขอบคุณครับ...
         ..........................
>รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ประเทศไทยประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับ ฉบับที่ 20
 (ฉบับปัจจุบัน)ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 มี 279 มาตรา แบ่งเป็น 16 หมวด
  * หมวด 1 บททั่วไป(มาตรา 1-5 )
 *หมวด 2 พระมหากษัตริย์(มาตรา 6 - 24)
 *หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย(มาตรา 25 - 49)
* หมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย(มาตรา 50)
* หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ(มาตรา 51-63) 
*หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ(มาตรา 64 -78)
* หมวด 7 รัฐสภา(มาตรา 79- 157)
*หมวด 8 คณะรัฐมนตรี(มาตรา 158-183)
 *หมวด 9 การขัดกันแห่งผลประโยชน์(มาตรา 184 -187)
* หมวด 10 ศาล(มาตรา 188 - 199)
* หมวด 11 ศาลรัฐธรรมนูญ(มาตรา 200- 214 )
*หมวด 12 องค์กรอิสระ(มาตรา 215 - 247)
* หมวด 13 องค์กรอัยการ(มาตรา 248)
* หมวด 14 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(มาตรา 249 - 254)
*หมวด15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ(มาตรา 255 - 256)
* หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ(มาตรา 257 -261)
...... บทเฉพาะกาล(มาตรา 262 - 279)
             .....................
         หมวด 1 บททั่วไป
*มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้
*มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข                                
  *มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล 
     ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ รัฐสภาคณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรมเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม
*มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน
*มาตรา 5 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศบทบัญญัติใดของกฎหมายกฎหรือข้อบังคับหรือการกระทำใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญบทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
     เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใดให้การกระทำนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
       หมวด 8 คณะรัฐมนตรี
*มาตรา 158 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คนประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน 
    นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบตามมาตรา 159 ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
....บทเฉพาะกาล...
*มาตรา 272 ในระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรรับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้ดำเนินการตามมาตรา 159 เว้นแต่การพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 159 วรรคหนึ่งให้กระทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาและมติที่ประชุมแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 159 วรรคสามต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
     ในระหว่างเวลาตามวรรคหนึ่งหากมีกรณีที่มีอาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 ไม่ว่าด้วยเหตุใดและสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภาขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 ในกรณีเช่นนั้นให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยพลันและในกรณีที่รัฐสภามีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาให้ยกเว้นได้ให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งต่อไปโดยจะเสนอชื่อผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 หรือไม่ก็ได้
(มาตรา 88 ในการเลือกตั้งทั่วไปให้พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแจ้งบัญชีรายชื่อซึ่งพรรคการเมืองนั้นมีมติว่าจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีไม่เกิน 3 รายชื่อต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้งและให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวให้ประชาชนทราบและนำความในมาตรา 87 วรรคสองมาใช้โดยอนุโลม
    พรรคการเมืองจะไม่เสนอรายชื่อบุคคลตามวรรคหนึ่งก็ได้)
      ...................
>ขอเรียนถามพี่น้องมวลชนทุกกลุ่มที่ออกมาขับไล่ให้นายกรัฐมนตรีลาออก  ..ด้วยความเคารพครับ.
 >ขอเรียนถามว่าหากนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันประกาศลาออก ขั้นตอนการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่จะต้องใช้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 หรือไม่?  หรือท่านมีวิธีการอื่นที่นอกเหนือจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
...  ขอให้กลุ่มมวลชนที่ขับไล่ หรือเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันลาออก ช่วยบอกถึงขั้นตอนและวิธีการเลือกนายกคนใหม่ หากนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันลาออกท่านมีวิธีการและกระบวนการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่อย่างไร?
(ขอเรียนถามเฉพาะขบวนการเลือกนายกรัฐมนตรีครับ)
..ขอบคุณครับ..
           .....................
> รายการกฎหมายน่ารู้ และการเมืองไทย
ดำเนินรายการโดย อ.วิชิต.ดิษฐประสพ
>นักวิชาการอิสระด้านสื่อมวลชน ผู้สื่อข่าวอาวุโส
>ประธานใหญ่องค์การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ(อ.ต.ร.)"องค์การเอกชน" NGO (อ.ต.ร.)กลุ่มพันเอก(พิเศษ)สุบรรณ แสงพันธุุ์ 
>สำนักงานใหญ่องค์การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (อ.ต.ร.)เลขที่ 163 / 75 หมู่บ้านซื่อตรงเสนา 
ถนนเสนานิคม 1ซอย 15 แขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 02 561 4502
 มือถือ ID LINE 090 9 1 7 3 2 5 9 หรือ 064 5 1 6 6 7 9 4
        ........................    
 อ.วิชิต ดิษฐประสพ
>นักวิชาการอิสระด้านสื่อมวลชน ผู้สื่อข่าวอาวุโส
>ประธานใหญ่องค์การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ(อ.ต.ร.) (อ.ต.ร.)กลุ่มพันเอก(พิเศษ)สุบรรณ แสงพันธุ์
>ผู้สื่อข่าวอาวุโส และที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย หนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์อินไซด์ทีวี และ TT TV ทีวีออนไลน์
เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารโดย
อาจารย์วิชิต ดิษฐประสพ