23 มกราคม 2565

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์

🌊 ยุคนี้เรื่อง “Climate Change หรือ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ” ถูกพูดถึงกันมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วนะครับ แต่ละประเทศก็ออกกฎหมาย  นโยบาย เพื่อให้ทุกภาคส่วนช่วยกันลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และปลูกต้นไม้กันมากขึ้น ดังนั้น จึงได้สร้าง “#เครื่องมือทางการเงิน” ขึ้นมา เพื่อช่วยให้นโยบายมีคนอยากทำตามกันมากขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือ การซื้อ-ขาย #คาร์บอนเครดิต นั่นเองครับ

📑 ขั้นตอนและวิธีการของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ขอยกตัวอย่างเป็นของประเทศไทยนะครับ

ถ้าเรามีที่ดินเปล่า (ภาพที่ 1) และเราอยากปลูกพืชเศรษฐกิจ และ #ขายคาร์บอนเครดิต ด้วย เราต้องทำดังนี้ครับ







🌱 ปีที่เริ่มต้นโครงการ ขอเรียกว่า “ปีฐาน” นะครับ เมื่อเริ่มโครงการในปีฐาน มีขั้นตอนดังนี้ 

(1). ขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER กับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) 📑 ซึ่งก็จะแบ่งตามประเภทต้นไม้และรูปแบบการปลูกครับ เช่น FOR-01 คือโครงการปลูกป่า/ต้นไม้ แบบไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ที่สามารถกักเก็บคาร์บอนฯ ไม่เกิน 16,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี โดยเมื่อขึ้นทะเบียนต้องเตรียมเอกสารต่างๆ เช่น หนังสือแสดงสิทธิการใช้ที่ดิน  เอกสารการขึ้นทะเบียนโครงการ 📝 ระบุพิกัดรายละเอียดพื้นที่ และอื่นๆ 

(2). เจ้าหน้าที่อบก. จะลงพื้นที่จริง ✍โดยสุ่มตัวอย่าง 1% ของพื้นที่ทั้งหมด เพื่อตรวจสอบว่าปัจจุบันมีต้นไม้อยู่ไหม ถ้ามีอยู่บ้างจะคำนวณเป็นคาร์บอนได้เท่าไหร่ 

🛰 แต่ปัจจุบันเราสามารถใช้เทคโนโลยีดาวเทียม ร่วมกับระบบ AI เพื่อนำมาช่วยประเมินปริมาณคาร์บอนฯ ของพื้นที่จริงทั้งหมดได้แล้วนะครับ โดยค่าที่ได้มีความแม่นยำสูง และค่าใช้จ่ายถูกกว่าต้องใช้คนลงพื้นที่มาก (เดี๋ยวโพสหน้าจะมาแชร์เรื่องนี้นะครับ) 

(3). เมื่อขึ้นทะเบียนสำเร็จ 📃 เราก็ปลูกต้นไม้ได้เลย แล้วก็บำรุงรักษา และรอๆๆ ให้ต้นไม้โตขึ้น 
 
มาถึงปีที่ 3️⃣, 6️⃣, และ 🔟 จะประเมินคาร์บอนได้แล้วนะครับ (ภาพที่ 3)
เจ้าหน้าที่อบก. จะลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบว่าต้นไม้ที่เราปลูกไว้ โตขึ้นแค่ไหน (โดยจะประเมินทุก 3️⃣ ปี) และคำนวณออกมาเป็นค่าการกักเก็บคาร์บอนฯ ได้เท่าไหร่ ตรงนี้แหละครับ ที่เราจะสามารถนำค่าการกักเก็บคาร์บอนฯ หรือที่เรียกว่า คาร์บอน เครดิต มาขายได้ โดยจะขายให้กับองค์กรที่ต้องนำไปใช้ เช่น โรงงานที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และต้องนำคาร์บอนเครดิตไปใช้ทดแทน (Carbon Offset)

🌳 ถ้าในกรณีที่ฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม การคำนวนก็จะเริ่มต้นจากที่มีต้นไม้เก่าอยู่เท่าไหร่ และเมื่อถึงปีมี 3, 6 และ 10 ต้นไม้ที่เราฟื้นฟู โตขึ้นเท่าไหร่ และแปลงออกมาเป็นปริมาณการกักเก็บคาร์บอนฯ และสามารถขายได้เหมือนกัน (ภาพที่ 2)

💰 ราคาขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย จากข้อมูลของ อบก. ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 34 บาท/ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) (ภาพที่ 4) 

แต่ในต่างประเทศ ตลาดซื้อ-ขายคาร์บอนใหญ่มาก เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ได้ใช้ระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading Scheme: ETS) แล้ว💲 ราคาปัจจุบันซื้อขายกันที่ US$18/tCO2e หรือ 576 บาท/ตันคาร์บอนฯ เลยล่ะครับ เพราะภาครัฐได้ออกกฎหมายเรื่องนี้อย่างจริงจัง ทำให้คาร์บอนเครดิตมีความต้องการสูง ราคาก็จะเพิ่มสูงตามไปด้วย 

ส่วนประเทศไทยบ้านเรา ตอนนี้ก็เริ่มตื่นตัวขึ้นมาบ้างแล้ว แต่ถ้ามีการบังคับใช้กฎหมายกันอย่างจริงจัง ก็น่าจะกระตุ้นให้คนอยากปลูกต้นไม้กันมากขึ้น ถ้าความต้องการเยอะ ตลาดจะได้คึกคักขึ้นมาหน่อยนะครับ 😄

📍 ข้อมูลเพิ่มเติมการขึ้นทะเบียน T-VER ดูได้จากที่นี่นะครับ http://ghgreduction.tgo.or.th/en/methodology/methodology-for-voluntary-emission-reduction/forestry-and-green-space.html

ที่มาข้อมูล: องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) : www.tgo.or.th
ตลาดคาร์บอน: http://carbonmarket.tgo.or.th/
The World Bank: www.carbonpricingdashboard.worldbank.org

#ปลูกไม้มีค่าสร้างเงินในอนาคต 
#Earthinsights #EarthInsightsForThailand #COP26 #CarbonNeutrality #CarbonCredit #CarbonOffset
Cr.อุทัย สอนหลักทรัพย์



ข่าวยอดนิยม สังคมสนใจ

หนังสือพิมพ์ตาทันนิวส์ออนไลน์

ข่าวภูมิภาค เชิญเที่ยว ช๊อป ชิม ริมบึงสามพัน(ถนนคนเดิน) ...